วันพฤหัสบดีที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2558

High-definition (HD)








รูปนี้แสดงขนาดความละเอียดของภาพ (Display resolution)

ที่แสดงผ่านจอต่างๆตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ในหน่วย Pixels (หรือเรียกว่า picture element)



พอพูดถึง Pixels แล้ว ค่าที่เกี่ยวข้องที่ใกล้เคียงกัน ก็คือค่า PPI



ตรงนี้สำหรับท่านที่งงกับหน่วย PPI, DPI, LPI และ SPI ว่ามันต่างกันอย่างไร

ผมจะอธิบายรวบรัดทีเดียวไปเลย ตามที่ผมเข้าใจนะครับ



PPI (Pixels per inch) : จำนวน Pixels ที่แสดงในความกว้าง 1 นิ้ว

ปกติงานถ่ายภาพทั่วไป รูปมักจะปรับไว้ที่ 300 PPI ครับ เพราะตอน Print ออกมาจะได้ละเอียดๆ



DPI (Dots per inch) : จำนวนจุดในความกว้าง 1 นิ้ว มักใช้กับงานพิมพ์เป็นหลัก



ยกตัวอย่าง เช่น Inkjet Printer แบบหมึก 300 DPI ก็ึคือจำนวนของหยดของหมึก-

ในความกว้าง 1 นี้ว มีทั้งหมด 300 จุดนั่นเอง..



หมายความว่า ยิ่งเลข DPI มาก ภาพยิ่งสวยยิ่งชัด..และยิ่งเปลืองหมึกครับ เหอๆๆ

(คุณนุแก้ให้แล้วนะครับ....DPI ที่มากขึ้น ไม่ได้ทำให้เปลืองหมึกขึ้น แต่จุดจะเล็กลง ทำให้ละเอียดขึ้น)

(Inkjet Printer อยู่ที่ราวๆ 300 - 600 DPI

laser printer อยู่ที่ราวๆ 600 - 1800 DPI)



LPI (Lines per inch) : จำนวนเส้นที่แสดงในความกว้าง 1 นิ้่ว ใช้กับงานพิมพ์เหมือนกัน

แต่จะนิยมใช้กับการพิมพ์แบบ halftone screen แบบพวกหนังสือพิมพ์ครับ แล้วก็จะใช้กับพวก

graphics tablet ครับ



SPI (Samples per inch) : ตัวอย่างที่แสดงในความกว้าง 1 นิ้ว ใช้กับพวก Scanner ครับ

ปกติอยู่ที่ 100 - 2400 SPI บางทีถ้า่ Scanner รุ่นสูงๆ แพงๆ ก็จะปาไป 4800 SPI หรือมากกว่านั้น



ทีนี้ เจ้าหน้า่จอเนี่ย มันก็มี Pixels เริ่มตั้งแต่ต่ำสุด

CGA (Color Graphics Adapter) ขนาดความละเอียด 320 x 200 Pixels

ไปจนถึง QSXGA(Quad Super eXtended Graphics Array) 2560×2048 Pixels




- คุณภาพระดับ High-definition

เรานับ Display resolution ตั้งแต่เท่าไหร่?



ถ้าเอาตามที่ wiki บอกนั้น... HD Display resolution ในปัจจุบัน

เริ่มนับตั้งแต่พื้นที่ขนาดรวม 1 ล้าน Pixels ขึ้นไป



แต่เอาเข้าจริงๆ ดูเหมือนจะเริ่มนับตั้งแต่ 786,432 Pixels ขึ้นไปครับ

(1024×768 = 786,432 Pixels ของโค้ด XGA (Extended Graphics Array))



แต่ถ้าระบุเป็นโทรทัศน์ความละเอียดสูง หรือ HDTV ไปเลย

จอ Plasma HDTV จะเริ่มนับตั้งแต่ 1366 × 768 Pixels

ส่วนของ LCD HDTV จะเริ่มที่ 1280×720 Pixels

ซึ่งทั้งสองตัวนี้จะมีอัตราส่วน ควา่มกว้าง : ความสูง อยู่ที่ 16 : 9

(ศัพท์ที่ใช้เรียกอัตราส่วน คือ Aspect ratio)



ซึ่งจะมีโค้ดคือ WXGA หรือที่เีีรียกว่า Wide XGA ขึ้นไป

(Wide eXtended Graphics Array)



ส่วนถ้าเป็น WXGA ของจอมอนิเตอร์ จะมีขนาด

- 1280 × 720 pixels (Aspect ratio 16:9)

- 1280 × 768 pixels (Aspect ratio15:9 (5:3))

- 1280×800 pixels (Aspect ratio 16:10)



ส่วนใหญ่ถ้าพูดถึงโค้ด WXGA ของจอ Monitor เนี่ย...

คนจะชินกับขนาด 1280×800 pixels (Aspect ratio 16:10)

พบเห็นได้ทั่วไป ใน Laptop ขนาด 14 - 15 นิ้วครับ




ก่อนจะคุยกันถึงเรื่องอัตราส่วนของภาพควรทำความเข้าใจเรื่อง Aspect ratio กันก่อนนะครับ

สำหรับผู้ที่ยังไม่รู้
คลิ๊กที่นี่ครับ




- HDTV ไม่มีอัตราส่วนแบบ 4 : 3 เหรอ?

เท่าที่ค้นข้อมูลมา ถ้าไม่ใช่อัตราส่วน 16 : 9

เขาก็ไม่นับเป็น HDTV แล้วครับ



แต่ถ้าจะนิยามกันเอง โดยเทียบกับค่า HD Display resolution เฉยๆ

ก็เอาเป็นว่า เราเริ่มนับ TV ที่เป็น High-definition

ที่มีขนาดรวมของ Display resolution ตั้งแต่ 1 ล้าน Pixels ขึ้นไป



หรือถ้าจะนิยามมาตรฐานเดียวกับจอ Monitor ของคอม

ก็เอา่ตั้งแต่โค้ด XGA(Extended Graphics Array)



ทีมีขนาด Display resolution 1024×768 = 786,432 Pixels ขึ้นไป




- Widescreen

ตาคนเรา สามารถรับภาพได้ถึง 180 องศา

Widescreen จึงสร้างมาเพื่อให้เรารับภาพได้เต็มอิ่มมากขึ้น และรับอรรถรสได้มากขึ้น



Widescreen คือ อัตราส่วนระหว่างความกว้าง :ความสูง

ที่มีค่ามากกว่าค่าของ Academy ratio = 1.37 : 1 (เอาแป๊ะๆก็ 1.375 : 1)



ค่านี้มาจากอัตราส่วนของขนาดฟิล์ม 35 mm ที่ใช้ในระบบ 4-perf pulldown

ในพวกเครื่องฉายต่างๆในยุึคนั้น (ผมเข้าใจว่า ฉายออกมาแล้วมันได้อัตราส่วนขนาดนี้พอดี)



Academy of Motion Picture Arts and Sciences

กำหนดให้ 1.37 : 1 เป็นค่ามาตรฐานอัตราส่วนของฟิล์ม ในปี ค.ศ.1932



ย้อนไปในปี ค.ศ.1892 นั้น ฟิล์ม 35 mm ยังคงใช้เป็นหนังเงียบอยู่ อัตราส่วนจึงยังเป็น 1.37 : 1


จนมาถึงปี ค.ศ.1920 ระบบ Soundtrack ได้ถูกผลิตลงในฟิล์ม ทำให้แบ่งพื้นที่บนฟิล์มไปส่วนหนึ่ง



จากที่เคยฉายภาพได้เต็มอัตราส่วน 1.37 : 1 ภาพจึงถูกบีบให้สูงขึ้น อัตราส่วนเหลือ 1.33 : 1



พื้นที่ภาพในฟิล์มที่ถูกบีบ ก็ถูกแทนด้วยพื้นที่ Soundtrack นั่นเอง








พวกทีวีต่างๆในสมัยนั้น ที่ยังไม่มีแบบ Widescreen

จึงสร้างสนองอัตราส่วน 1.33 : 1 หรือคือค่่า Aspect ratio = 4 : 3 นั่นเองครับ




- widescreen แบบ 16 : 9 มายังไง?
อัตราส่วนที่ทำให้เกิดความกว้างมากขึ้นเวลาฉาย

เริ่มในยุคฟิล์ม 35 mm ตอนแรกหนังแบบ Widescreen นั้น มีขนาด 1.66 : 1

ซึ่งเท่ากับ 8 : 5 หรือที่เราคุ้นกันแบบ 16 : 10



ส่วนเจ้า 16 : 9 มีอัตราส่วนเท่ากับ 1.78 : 1



16 : 9 นั้น หากดูเผินๆ อาจจะไม่เกี่ยวอะไรกับเจ้า 4 : 3

แต่ว่า จริงๆแล้วมันคือ 4 : 3 X 4 : 3 = 4 x 4 : 3 x 3 = 16 : 9 !!!



เนื่องจากเจ้า 16 : 9 นั้น ง่ายต่อการเอาไปแปลงเป็น 4 : 3

เพราะแค่เอา 4 หารความกว้าง กับเอา 3 หารความสูง

ก็จะได้อัตราส่วน 4 : 3 แล้ว... หมายความว่า มันจะไม่เกิด letterboxing



letterboxing คือ สิ่งที่เกิดขึ้น เวลาฉายภาพในทีวีแล้วมีขอบดำๆอยู่ในทีวี



มักจะเกิดกับหนังที่มีขนาดไม่ใช่อัตราส่วน 4 : 3 แล้วไปฉายในจอขนาด 4 : 3






ดังนั้น อัตราส่วน 16 : 9 (1.78 :1) จึงถูกใช้เป็นมาตรฐาน Widescreen ของทีวี

เพราะอัตราส่วนนี้ ทำให้ผู้ชมได้รับอรรถรสเต็มเปี่ยม

ไม่ว่าจอที่บ้านจะขนาด 16 : 9 แป๊ะๆ หรือขนาด 4 : 3 ก็ตาม



อัตราส่วน 16 : 9 นี้ จึงมีใน Format ของกล้องวิดีโอดิจิตอล

และถูกใช้ในอุตสาหกรรมภาพยนตร์



ทำให้ภาพยนตร์ในปัจจุบัน สามารถรักษาพื้นที่ของภาพไว้ได้แทบจะ 100 %

เพราะไม่จำเป็นต้องตัดพื้นที่ของภาพที่ถ่ายได้ออกไป

และไม่ต้องถูกบีบด้วย letterboxing เวลาฉายนั่นเอง




Happy ทั้งคนสร้าง Happy ทั้งคนชม



ปัจจุบัน เีราจึงเห็น TV เป็นแบบ 4 : 3 (แบบดั้งเดิม)

และ 16 : 9 (แบบ Wide ยุคดิจิตอล) ซะเป็นส่วนใหญ่ครับ



แต่ Monitor ของคอมพิวเตอร์นั้น จะมีแบบ 4 : 3 (ที่หายากขึ้นทุกวัน)

และ Widescreen แบบทั้ง 16 : 10 และ 16 : 9 ครับ




- TV ที่มีโลโก้ HD Ready หรือ Full HD.. หมายความว่าอย่างไร?

เจ้า HD Ready , Full HD คืออะไร?


HD Ready กับ Full HD นั้น เป็นคำหรือโลโก้ที่ถูกสร้างขึ้นมา

เพื่อใช้กันในเชิงพาณิชย์เป็นหลักครับ



ต้องบอกก่อนว่า High Definition (Basic) ของ TV นั้น (ของจอคอมไม่เกี่ยว)

ปัจจุบันจะมีความละเอียดของหน้าจอเริ่มต้นที่ 1366×768 Pixels (Aspect ratio 16:9) ครับ

ซึ่งค่าความละเอียดในการแสดงผลของหน้าจอทีวีนั้น เราจะใช้คำว่า Native resolution



เพราะฉะนั้น HD Ready นั้น ยี่ห้อส่วนใหญ่จะหมายถึง

ความละเอียดของหน้าจอที่ 1366×768 Pixels ขึ้นไปครับ



ถ้า Native resolution น้อยกว่านี้ เช่น LCD HDTV ขนาด 1280×720 Pixels (Aspect ratio 16:9)

อันนี้จะไม่ใช่ HD Ready ครับ แต่ยังถือว่าเป็น HDTV อยู่



ย้ำอีกครั้งว่า

จอ Plasma HDTV จะมี Native resolution ตั้งแต่ 1366 × 768 Pixels ขึ้นไป

ต่ำกว่านี้ จะไม่ถือเป็น High-definition TV แต่เป็น Plasma TV เฉยๆ



ส่วนจอ LCD HDTV จะมี Native resolution ที่ 1280×720 Pixels ขึ้นไป


ต่ำกว่านี้ จะไม่ถือเป็น High-definition TV แต่เป็น LCD TV เฉยๆ



ส่วนโค้ด HD+ หรือ HD plus ( High Definition (Plus)) คือ

หน้าจอที่ Native resolution มีขนาด 1600 x 900 Pixels ครับ



ส่วน Full HD นั้น หมายถึง หน้าจอที่มี Native resolution 1920 x 1080 Pixels ครับ

บางทีก็ใช้โค้ด HD-1080 ครับ



ถ้างงกับค่า Resulution ของโค้ด เช่น WSXGA,UXGA,2K,4K ฯลฯ



ให้คลิ๊กที่ไปดูโค้ดได้ที่นี่ได้ครับ.. จิ้ม!!




- ทำไม Full HD ต้องมี Native resolution 1920 x 1080 Pixels?
เหตุผลมาจากภาพยนตร์นั่นเองครับ ภาพยนตร์ที่ถ่ายทำกันในปัจจุบัน

เกือบทั้งหมดมี Display resolution 1920 x 1080 Pixels แป๊ะๆ!!

(มันก็ต่อเนื่องมาเรื่อยๆ ตั้งแต่เรื่องต้นกำเนิดอัตราส่วนของ Display แบบ 16 : 9 แล้วครับ)



หมายถึง resolution ตอนที่ถ่ายทำมา มีขนาด 1920 x 1080 Pixels



มาถึงมือเรา มันก็ยัง 1920 x 1080 Pixels...ไม่ได้เปลี่ยนขนาดเลยแม้แต่น้อย




- กล้องวิดีโอติจิตอล ที่ถ่ายทำได้ละเอียดมากกว่า 1920 x 1080 Pixels มีไหม?

มีอยู่แล้วครับ นั่นคืิอ 2K (2048×1080 pixels) กับ 4k (4096×2160 pixels)



ส่วนหนังที่ถ่ายทำที่ความละเอียด ขนาด 4 K เราก็ดูกันไปแล้วด้วย

นั่นคือเรื่อง Knowing กับ District 9



แต่ที่เรานั่งดูในโรงหนังที่ฉายด้วยระบบดิจิตอลนั้น

98 % ของโรงหนัง มีเครื่องฉายที่ฉายได้ขนาดความละเอียดระดับ 2 k ครับ



กล้องวิดีโอแบบดิจิตอล ณ วันนี้ สามารถเก็บความละเอียดได้สูงสุดที่ 4 K

ส่วนอนาคตกำลังจะมี 6 K... ซึ่งปัจจุบันกำลังอยู่ในการพัฒนาครับ



นอกจากนี้ Red Digital Cinema Camera Company

ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตกล้อง Red cam ที่ถ่้ายได้ถึง 4 K นั้น



ได้พูดเล่นๆไว้ว่า จะมีกล้องที่มีความสามารถเก็บข้อมูลได้ละเอียดสูงถึง 28K









อันนี้คือภาพที่เีทียบให้ดูขนาดความละเอียดของ 28 K กับ ขนาดอื่นๆ

จากมุมซ้ายบน อันที่ 3 (สีฟ้า) คือ HD-1080 ที่อยู่ในหนังที่เราชมอยู่ทุกวันนี้

และก็เป็นขนาดสูงสุด ที่หน้าจอ LCD HDTV สามารถแสดงผลออกมาได้ในปัจจุบันครับ



....



1920 x 1080 pixels ในปัจจุบัน ก็แทบจะ Zoom เห็นรูขุมขนดาราอยู่แล้ว

28 k นี่...พี่กะจะเก็บรายละเอียดซะจน Zoom ทะลุต่อมใต้รูขุมขน -


ไปดูโครโมโซมของดาราเลยใช่ไหมครับ?



อ้าว พาอ้อมไปเรื่องตลกวงการภาพยนตร์ซะงั้น... เอากลับมาเรื่อง HDTV กันต่อครับ




- อะไรคือ 720i,720p,1080i,1080p บน HDTV?

ระบบการ Scan ที่ประัมวลผลแสดงออกบนหน้าจอของเรานั้น

มีอยู่ 2 ระบบ คือ Interlaced scan กับ Progressive scan

ซึ่งก็คือ i กับ p ที่อยู่ท้ายตัวเลขนั่นเอง



สมมุติให้หนังเรื่องหนึ่ง มี Frame rate อยู่ที่ 25 FPS (Frame per sec)



สำหรับท่านที่ไม่ทราบ

Frame คือ ภาพ 1 ภาพ... ลองนึกถึงภาพยนตร์การ์ตูนที่เคลื่อนไหวดู

การจะทำให้ภาพเคลื่อนไหวได้นั้น ต้องมีภาพที่ต่อเนื่อง แล้วเราก็ดูผ่่านไปเร็วๆ

โดยปกติ 1 วินาที จะใช้ภาพประมาณ 24 ภาพ การเคลื่อนไหวจึงจะดูเป็นธรรมชาติ

ถ้ายิ่งละเอียดก็ยิ่งพริ้ว



- Interlaced scan จะ Scan ภาพ 2 ครั้ง ใน 1 Frame

ใน 1 Frame จึงแบ่งออกเป็น 2 fields (1 Frame = 2 fields)

สมมุติทีวีมี 625 เส้น Interlaced scan จะ Scan 2 ครั้ง

คือ field แีรก Scan ที่เส้นเลขคี่ 1,3,5 ไปจนครบจำนวน



แล้ว field ที่สองก็จะ Scan ที่เส้นคู่ 2,4,6 ไปจนครบจำนวน









เมื่อ Scan ครบทั้ง 2 ครั้ง ก็จะเอาค่าที่ได้มารวมกัน ได้ทั้งหมด 625 เส้น

แสดงออกมาเป็นภาพ 1 Frame ซึ่ง Interlaced scan นั้น ทำให้ภาพที่แสดงออกมา

มีรอยหยักหรือภาพกระพริบ....แต่มันเกิดขึ้นเร็วมาก จนเรามองแทบไม่ทันถ้าไม่นั่งสังเกตดีๆครับ



นั่นหมายความว่า สัญญาณจากหนังที่มี Frame rate 25 FPS นั้น

พอมาเจอ TV แบบ Interlaced scan ที่มี Refresh rate อยู่ที่ 50 Hz

ก็ได้ค่าเป็น 50 fields per sec = 25 Frame per sec (FPS)



อะ อย่าเพิ่งงงเรื่อง Frame rate กับ Refresh rate นะ..จะอธิบายเดี๋ยวนี้แหละครับ



Frame rate นี่จะเป็นค่าที่มาจากสัญญาณที่มุ่งไปสู่ตัวรับที่จะแสดงผลที่หน้าจอ

ซึ่งตัวรับ(หรือจอ)ก็จะกระพริบปริบๆๆๆ หรือที่เราเรียกว่า Refresh rate นั่นแหละครับ


ปกติ ทีวีบ้านเราจะกระพริบเร็วถึง 50 ครั้งต่อวินาที นั่นก็คือ 50 Hz นั่นเองครับ



คนส่ง ส่งได้ 25 รูป ต่อ 1 วินาที(25 fps) แต่ว่าคนรับ รับได้ถึง 50 ครั้งต่อ 1 วินาที (50 Hz)

แต่เผอิญว่า คนรับ รับได้แค่ครั้งละครึ่งรูป(ได้ทีละ field).. พอมองจากผู้ชม จึงเห็นไอ่คนรับเนี่ย

แสดงภาพออกมาได้แค่ 25 รูปต่อ 1 วินาทีนั่นเองครับ (25 fps)



- Progressive scan จะ Scan ภาพครั้งเดียว โดย 1 field จะกลายเป็น 1 Frame ไปเลย

ไล่ตามลำดับไปเลยตั้งแต่ 1 - 625 เส้นทีเดียว ทำให้ได้ภาพที่ชัดและเรียบเนียนกว่าครับ

นั่นหมายความว่า Progressive scan ที่มี Refresh rate อยู่ที่ 50 Hz (50 ครั้งต่อวินาที)
พอแสดงภาพทางหน้าจอ จึงได้ค่าเป็น 50 Frame per sec (FPS) ไปเลย








อะ ยังมีท่านใดงงอยู่ไหมนะ??..



เผื่อฟังตามไม่ทัน เพราะผมเป็นคนพูดเร็ว

งั้นผมจะยกตัวอย่าง ไปเทียบกับสิ่งของละกันครับ

เอาเป็นถุงเท้าละกัน...มีถุงเท้าอยู่จำนวนหนึ่ง...ซึ่งถุงเท้า 1 คู่ จะมี 2 ข้าง (1 Frame = 2 Field)




น้องไอกับน้องพี มีความไวในการเก็บเท่าๆกัน คือ เก็บได้ 50 ครั้งต่อวินาที ( Refresh rate 50 Hz)

แต่เผอิญน้องไอ (Interlaced) มีอาการทางจิต ชอบเก็บถุงเท้าทีละ 1 ข้าง

ส่วนน้องพี (Progressive) ก็โกยเอาโกยเอา แต่เต็มที่ก็โกยได้ถุงเท้าทีละ 1 คู่



พอผ่านไป 1 วินาที น้องไอก็เก็บถุงเท้าได้ 50 ข้าง = 25 คู่ (ได้ผลแสดงออกมาที่ 25 fps)


ส่วนน้องพี เก็บถุงเท้าได้ 50 คู่ = 50 คู่( ได้ผลแสดงออกมาที่ 50 fps)



โอเค้???



สรุปก็คือ i จะไม่ชัด ไม่เรียบเนียนเท่า p นั่นเอง( p จึงแพงกว่า i)



ส่วนเลขข้างหน้าคือเลขที่บอกความละเอียดของ Video format ที่ TV รองรับได้สูงสุดนั่นเองครับ




720i = รองรับ Video format ขนาด 1280×720 pixels โดยใช้ระบบ Interlaced scan

720p = รองรับ Video format ขนาด 1280×720 pixels โดยใช้ระบบ Progressive scan

1080i = รองรับ Video format ขนาด 1920x1080 pixels โดยใช้ระบบ Interlaced scan

1080p = รองรับ Video format ขนาด 1920x1080 pixels โดยใช้ระบบ Progressive scan



ส่วน Native resolution ของ TV จะเป็นค่าเดียวกันหรืออีกค่า(ซึ่งต่ำกว่า)

ไม่เกี่ยวกับเลขข้างหน้า i หน้า p พวกนี้ครับ



เช่น HD ready 1080p บอกเพียงแค่ว่า ตัวทีวีรองรับ Video format

ขนาด 1920x1080 pixels ได้ โดยใช้ระบบ Progressive scan



โดยที่ตัวทีวีตัวนี้ อาจจะมี Native resolution เพียง 1366×768 Pixels ก็ได้

(แต่ก็เคยได้ยินเหมือนกันว่ามี HD ready 1080p บางรุ่นที่ออกมาก่อนที่จะมี Full HD แล้วเผอิญมี-

Native resolution = 1920x1080 pixels.. พูดง่ายๆก็คือ ตัวมันเองก็คือ Full HD นั่นแหละ

คนที่ซื้อมา บอกว่าสเป็คเหมือนกันเด๊ะ แค่คำว่า HD Ready ทำให้ราคาถูกว่า Full HD ตั้งครึ่ง)




- ทำไมดู HDTV ที่ห้างมันชัดจัง แต่ทำไมดู HDTV ที่บ้านไม่เห็นชัด?

ที่ห้าง ส่วนใหญ่เขาเอาแผ่น Blu-ray ฉายครับ



บ้านเรา DVD Video มีขนาด Resolution ไม่เกิน 720 × 576 pixels

นอกจากนี้ สัญญาณฟรีทีวีในบ้านเรา ยังเป็นระบบ Pal (Phase Alternate Line)

ซึ่งมีความละเอียดของภาพ 720 × 576 pixels ขนาดเดียวกันกับ Video DVD



ส่วนเจ้า Blu-ray นั้น มันโชว์ซะเต็มสูบ ครบ 1920x1080 pixels



ปกติ ถ้าเราถ่ายรูปจากกล้อง Digital แล้วพอเอาภาพไปขยายมาก ๆ มันจะแตกใช่ไหมครับ?

ก็หลักการเดียวกันครับ



ทีวีที่มี Native resolution 1920 x 1080 pixels

รับ Video format ของ Blu-ray ขนาด resolution 1920 x 1080 pixels

ภาพมันก็พอดีกันทุก Pixels : Pixels แบบ 1 : 1



แต่ถ้าเปลี่ยนมาเป็น Video format ของ DVD Video

ขนาด resolution 720 × 576 pixels มันก็จะกลายเป็น...



(1920x1080)/(720x576) = 5



จะเห็นว่า ภาพมันขยายจาก resolution เดิมตั้ง 4 เท่า (5 - 1)

หรือคิดเป็น 500 %... ถ้าชัดนี่ ทีวีคงมีปัญหาแล้วล่ะครับ



นอกจากนี้ ยังมีเรื่องทางเืทคนิคอย่างอื่นอีก

(ท่านใดไม่สนใจเรื่องทางเทคนิค ก็ข้ามตรงนี้ไปอ่านหัวข้อต่อไปได้เลยครับ)



อย่างเครื่องเล่น DVD ทั่วไป

(หัวอ่านเลเซอร์สีแดง มีความยาวของคลื่น 650 nm)

อ่านแผ่น DVD ที่ Video Bitrate เฉลี่ยราว 4 - 5 Mbit/s(Mbps)

(Bit rate สูงสุดที่แผ่น DVD รองรับ คือ 11.08 Mbit/s)



ในขณะที่เครื่องเล่น Blu-ray(หัวอ่านเลเซอร์สีน้ำเงิน มีความยาวคลื่น 405 nm )

อ่านแผ่น Blu-ray ที่ Video Bitrate เฉลี่ย 20 - 30 Mbit/s สูงสุดถึง 40 Mbit/s

(Bit rate สูงสุดที่แผ่น Blu-ray รองรับ คือ 54 Mbit/s)



อธิบายง่ายๆ ก็คือ หัวอ่านเลเซอร์สีน้ำเงินของ Blu-ray จะกระพริบถี่กว่าหัวอ่านเลเซอร์สีแดง

ทำให้ส่งถ่ายข้อมูลได้มากกว่า ในระยะเวลาที่เท่ากัน...



เหมือนเวลาเราถ่ายรูป ถ้าเราตั้งกล้องให้มันถ่ายรูปทุก 5 นาที พอผ่านไป 1 ชั่วโมงก็ได้ 12 รูป

แต่ถ้าเปลี่ยนมาตั้งกล้องให้ถ่ายรูปทุก 3 นาที ก็จะถ่ายได้ 20 รูป



ปริมาณข้อมูลที่ได้จึงมากกว่าครับ...

ส่งถ่ายข้อมูลได้มากกว่า ภาพจึงละเอียดกว่าครับ





เอ่อ... เริ่มเมาข้อมูลกันรึยังครับ??




- HDTV ที่บอก 24 Hz, 50Hz, 60 Hz, 100 Hz, 120Hz, 200Hz ฯลฯ

ความถี่เหล่านี้คืออะไร?


ในระบบ Pal ของทีวีบ้านเรานั้น(Pal ตัวนี้ไม่ได้เกี่ยวอะไรกับปลาหมึก) มี Frame rate ที่ 25 FPS

นั่นคือ ส่งมา 25 ภาพใน 1 วินาที.... ในทีวีระบบ interlaced scan -

จึงต้องมี Refresh rate ขึ้นต่ำที่ 50 Hz เพราะจะได้เก็บให้ครบ 50 fields ต่อวินาที



ความถี่ของทีวีในระบบ Pal จึงต้องมีความถี่อย่างต่ำ 50 Hz ครับ


ทีนี้ หากเป็นทีวีของต่างชาติ บางประเทศจะใช้ระบบ NTSC

ซึ่งมี Frame rate ที่ 30 FPS หรือเท่ากับ 60 fields ต่อวินาทีในแบบ interlaced scan

ความถี่จึงต้องมีอย่างต่ำ 60 Hz



ความถี่ 100 Hz, 120Hz, 200Hz , 240Hz หรือมากกว่านี้

ถูกสร้างมาเพื่อเทคโนโลยีการฉายเฟรมซ้ำๆกัน(frame repetition)

และการสังเคราะห์เฟรม(frame interpolation)



เช่น ปกติความถี่ 50 Hz แบบ interlaced scan สามารถแสดงผลได้ 25 FPS

พอเจอ TV ความถี่ 100 Hz จึงสามารถแสดงผลได้ 50 FPS

แล้วถ้าเป็น 200 Hz ก็จะมี frame rate ที่แสดงให้เราชมถึง 100 FPS



เฟรมที่เพิ่มขึ้นมา มาจากการสังเคราะห์เฟรมขึ้นมาใหม่ โดยวิเคราะห์จากเฟรมต้นฉบับ

ส่งผลให้ภาพดูคมชัดขึ้น ไหลลื่นขึ้น...ข้างล่างนี่คือภาพอธิบายถึงเฟรมที่ถูกสร้างขึ้นมาแทรก



ซึ่งมีในจอ LCD นะครับ.. จอประเภทอื่นรู้สึกว่าจะไม่เหมือนกันซะทีเดียว









เฟรมสีดำ คือ เฟรมต้นฉบับ

เฟรมสีเทา คือ เฟรมที่ถูกสังเคราะห์ขึ้นมาครับ



ส่วนข้อมูลเชิงเทคนิคอื่นๆ จะขอไม่กล่าวถึงละกันครับ



24 Hz


คือความถี่ของภาพยนตร์ High-definition ในปัจจุบัน

มี Frame rate อยู่ที่ 24 FPS



ถ้า TV ไม่มีระบบ 24 Hz ...มาฉายหนังพวกนี้ จะมีโอกาสเกิดปัญหาภาพกระตุกได้

แต่ว่าโชคดีที่ประเทศเรา ใช้ระบบ Pal ที่มี Frame rate อยู่ที่ 25 FPS อยู่แล้ว

ส่วนต่างเพียงแค่ 1 Frame ทำให้เครื่องเล่นแผ่นหนัง สามารถเร่งความเร็วในการส่งข้อมูลได้

เพื่อให้ได้ Frame rate ที่ 25 FPS ตรงกับระบบ Pal ที่มีในบ้านเรา



จาก 24 FPS ก็กลายเป็น 25 FPS



แต่ว่ามันทำให้หนังจบเร็วขึ้นจากเวลาปกติประมาณ 4.17%

อย่างเ่ช่น ถ้าหนังที่ฉายในโรงมีความยาว 120 นาที เมื่อมาใช้ในระบบ PAL แล้ว

จะมีความยาวเหลือประมาณ 115 นาทีนั่นเอง



ปัจจุบันนี้ HDTV แทบทั้งหมดรองรับระบบทั้งของ 50 Hz และ 60 Hz แล้ว

แต่ยังไงก็อย่าลืมเช็คข้อมูลเพื่อความแน่ใจก่อนจะซื้อนะครับ




- ค่า Contrast Ratio คืออะไร?

อันนี้พูดในเรื่องทางเทคนิคนะครับ

ค่านี้ไม่ใช่ Contrast ตัวเดียวกับที่ใช้เวลาปรับหน้าจอ



Contrast Ratio อธิบายง่ายๆ ก็คือ ค่าที่แสดงอัตราส่วนที่จอสามารถแสดงออกมาได้

ระหว่างจุดที่สว่างที่สุด(สีขาว) ต่อจุดที่มืดที่สุด(สีดำ) เช่น 500:1, 2000:1, 5000:1 ฯลฯ



ยิ่งค่าต่่างกันมาก ภาพจะยิ่งคมชัด... อัตราส่วนที่มากเพียงพอ สีดำจะดำำสนิท

ส่วนอัตราส่วนที่่ไม่ต่างกันมาก สีดำจะดำออกเทาๆครับ



ค่า Contrast Ratio ของแต่ละยี่ห้อ ไม่สามารถเทียบกันได้

เพราะการวัดค่า Contrast Ratio นั้น มีหลายระบบ หลายแบบ แล้วแต่โรงงานผลิต

แต่ที่เป็นที่นิยมที่ใช้ในการคำนวณหาค่า Contrast Ratio ก็คือ

1. "full on/full off" method

2. การคำนวณหาค่าของ ANIS (American National Standards Institute)

3. การคำนวณหาค่าของ VESA (Video Electronics Standards Association)

4. การคำนวณหาค่าของ JEITIA (Japan Electronics and Information Technology Industries Association)



ผมเข้าใจว่า จะวัดโดยวิธีการใดก็แล้วแต่ เกือบทั้งหมดทุกบริษัท

เขาจะคำนวณจาก "แสง" ที่จอแสดงออกมา เป็นตัวตั้งในการหาค่า Contrast Ratio



ทาง VESA เคยเสนอให้ใช้ค่า Contrast Ratio สูงสุดที่ 7000 : 1

เพราะดูจะเป็นตัวเลขความแตกต่างที่สูงสุดเท่าที่เป็นไปได้

แต่ทาง Sony ดันบอกว่า เขาวัดได้มากกว่านั้น ซึ่งค่าที่ได้มันดูเวอร์ไปจากที่ VESA เสนอ

ไปถึงเกือบ 1300 เท่า (ได้อัตราส่วนต่างกันเป็นล้าน )



ส่วน Dynamic Contrast Ratio หรือ Dynamic contrast (DC)

ถูกใช้ในระบบจอ LCD... โดยส่วนตัวเข้าใจว่า มันคือผีตัวเดียวกับ Contrast Ratio

ไม่รู้ว่าจะเปลี่ยนศัพท์เพิ่มศัพท์มาทำไม สงสัยอยากทำให้ชาวบ้านงงเล่น (หรือมีัผลทางการตลาด)



ส่วนตัวที่พิเศษอีกตัว คือ Contrast Ratio ซึ่งมาจากการวัีดของ ANIS

เพราะค่า Contrast Ratio ตัวนี้ จะมาจากค่า Static Contrast Ratio

หรือบางทีเรียกว่า ANIS Contrast



ซึ่งถ้าผมแปลไม่ผิด มันจะหมายถึง..

ค่าความคงที่ของ "สัญญาณ" ที่แสดงอัตราส่วนระหว่างจุดที่สว่างที่สุด(สีขาว)

ต่อจุดที่มืดที่สุด(สีดำ)..ซึ่งค่าที่ได้จากระบบนี้ จะมีค่าน้อยถ้าเทียบกับของระบบอื่นที่วัดจาก "แสง"



Contrast Ratio ซึ่งมาจากการวัีดของ ANIS ของบางยี่ห้อ อาจจะสูงสุดแค่ 1000 : 1



เอาเป็นว่า เจ้าค่าพวกนี้มันมีหลายมาตรฐานเกิน ปัจจุบันเจอไม่เป็นตัวเลขไปแล้วก็มีครับ

เช่น Ultra, High ฯลฯ



สุดท้ายก็ต้องใช้ตาเราดูเหมือนเดิม...



ถ้าจะซื้อก็เลือกที่ชอบที่ชอบไปละกันครับ




- จอแบบ Full HD TV นี่ ถ้าจะฉายหนังที่ละเอียดขนาด 1920x1080 pixels

ในอัตราส่วน 1 pixels = 1 sq.mm จอต้องมีขนาดเท่าไหร่?



ถ้าความละเอียด 1920x1080 pixels

จะเอาขึ้นจอที่อัตราส่วน 1 pixel = 1 sq.mm (ตารางมิลลิเมตร)

ก็ต้องการจอขนาด 192 x 108 cm = 1.92 x 1.08 m



นั่นคือกว้างเกือบสองเมตร ยาวเมตรนิดๆ



เขาเรียก TV ขนาดกี่นิ้วล่ะนั่น??



ผมก็สงสัยอดสงสัยไม่ได้เหมือนกัน

ก็เลยลองคำนวณเล่นๆมาเรียบร้อยแล้วครับ



ถ้าอยากได้ใหญ่สะใจขนาดนั้น มันคือจอขนาด 88 นิ้วครับ

ใหญ่กว่าจอ 40 นิ้ว 4 เครื่อง วางแบบ 2 X 2 รวมกันซะอีก

(จอ Full HD 40 นิ้ว ฉายหนัง 1920x1080 pixels จะได้อัตราส่วน pixels : mm บนจอ อยู่ที่ราวๆ 2.2 : 1 ครับ

นั่นคือ 1 sq.mm ฉายได้ราวๆ 4.84 - 4.85 pixels ครับ )



ส่วนจอ LCD ที่ใหญ่ที่สุด ที่ผมหาข้อมูลได้ในปัจจุบัน อยู่ที่ 108 นิ้วครับ



ก็จะตก 1 Pixels อยู่ที่ราวๆ 1.48 - 1.5 sq.mm ครับ



- Super Hi-Vision

ว่า High-definition TV เจ๋งแล้ว อนาคตในประมาณปี 2016 - 2020

เราจะมี Super Hi-Vision เข้ามาอีก หรือที่เรียกว่า 4320p(7680x4320 pixels)(aspect ratio 16 : 9)

, 8K, Ultra High Definition Television (UHDTV) แล้วก็ต้องมีวิดีโอคือ

Ultra High Definition Video (UHDV)



แต่ว่า อยู่ๆจะกระโดดจาก Full HD ไปเป็น UHD มันก็คงไม่ก้าวกระโดดข้ามไปขนาดนั้น


เพราะยังมีตัวที่อยู่ตรงกลางอีกตัว นั่นคือ QFHD (Quad Full High Definition)

หรือที่เรียกว่า Quad HD (3840 x 2160 pixels)(aspect ratio 16 : 9)



เจ้า Quad HD จะมีความละเอียดเป็น 4 เท่าของ Full HD..



แล้วถ้า Super Hi-Vision นี่ก็... ละเอียดกว่า Quad HD อีก 4 เท่าครับ



นั่นหมายความว่า ถ้าดูหนังในระดับ Super Hi-Vision แล้วฉายกับจอ Full HD



แบบพร้อมกันรวนเดียว 16 จอ(4x4)...ภาพก็ยังชัดแจ๋ว รูขุมขนก็ยังชัดหมือนเดิม



คิดว่าเรื่องของจอภาพ High-definition ที่เขียนรวบรวมไว้ในหน้านี้



ถ้าอ่านตั้งแต่ต้นจนถึงตรงนี้ คิดว่าน่าจะได้รับข้อมูลมากพอในการเลือกซื้อเลือกดูแล้วนะครับ







High-definition ของ "เสียง"

คิดว่าในความเป็นจริงมันไม่ได้มีผลอะไรชัดเจนเหมือนกับภาพเท่าไหร่ครับ

คือ ถ้าพูดถึงภาพที่ละเอียดขึ้น ใหญ่ขึ้น ชัดขึ้น อันนี้เราเข้าใจ



ตาคนเรา รับภาพได้ 25 fps ถ้าเร็วกว่านั้นก็จะทำให้ดูไหลลื่นขึ้น

เป็นธรรมชาติมากขึ้น...อันนี้ก็เข้าใจได้



เท่าที่หาข้อมูลมา...



CD ปกติ - 16 Bit ให้เสียงดังได้ถึง 96 dB(SPL) (Sound pressure level)

ดังเกือบพอๆ กับเวลาที่เรายืนอยู่ห่างจากช่างทำถนน ตอนที่เขากำลังใช้เครื่องเจาะถนนอยู่

โดยที่เรายืนห่างจากเครื่องเพียงแค่ระยะ 1 เมตร โดยไม่ได้อุดหู...



ส่วนเจ้า HD Audio 24 - Bit นี่ ให้เสียงดังได้มากถึง 144 dB(SPL)....



ดังเกือบๆจะเท่าเครื่องยนต์ของเครื่องบิน Jet... ตอนที่เรายืนอยู่ห่างจากเครื่องยนต์แค่ 30 เมตร




ถ้าฟังลำโพงตอนที่เปิดเสียงดังสุดขนาดนั้น เลือดได้กระฉอกออกหูกันพอดีครับ



ส่วนช่วงความถี่ที่หูมนุษย์รับได้ จะอยู่ในช่วง 20 Hz - 20 kHz

CD ปกติ Sampling 44.1kHz สามารถสร้างเสียงได้ในช่วง 10 Hz - 22.05 kHz

ซึ่งคนปกติในวัยหนุ่มสาว จะได้ยินไม่เกิน 15 kHz อย่างเก่งก็สูงสุดที่ 17 - 18 kHz



เพราะฉะนั้น ก็ไม่รู้ว่าเจ้า HD Audio 32-bit Sampling 192-kHz นี่ มันดีกว่ายังไง?

16 - bit ยังทำหูแทบพังได้ถ้าเปิดดังสุด... แล้วจะเอา 32-bit มาเพื่ออะไร?



Edit : อ้างอิงจากคุณนุ #2..

Bit ที่มากขึ้น จะสามารถแสดงรูปแบบเสียงที่แตกต่างกันได้หลายรู้แบบมากขึ้นครับ

(เรื่องทางเทคนิคจ๋าของเสียงนี่ ผมไม่แน่นน่ะครับ )



Sampling ที่ 44.1kHz ก็ครอบคลุมช่วงความถี่ที่มนุษย์ได้ยินไปหมดแล้ว

Sampling 192-kHz คงให้ช่วงความถี่เสียงได้มากกว่านี้หลายเท่าตัว...

แต่มนุษย์ปกติคงไม่ได้ยิน ที่ได้ยินคงเป็นปลาวาฬ ค้างคาว หมูหมากาไก่มากกว่าครับ



ซึ่งเรื่องทางเสียงส่วนมากที่ผมค้นเจอ ก็ยังไม่รู้ว่่าจะเอา HD Audio มาเพื่ออะไีร?

ยังไงก็หาคำตอบกันต่อไปละกันครับ (ส่วนใหญ่ให้ความเห็นว่าเป็นเรื่องของการค้า)



เอาละ.. จบซักที..



ว่าแล้ว...







เรามาตั้งมาตรฐาน High-definition Blogger กันดีไหมครับ?



มี Refresh rate (ความถี่ในการอัฟบล็อก) กี่ Hz? ส่งข้ิอมูลลงบล็อกได้กี่ word/hour?

resolution ของเอ็นทรี่มีแค่ไหน? ต้องมีโค้ดสำหรับบล็อกเกอร์เฉพาะขึ้นมารึเปล่า๋๋?

เช่น VGB, GB+, GB, DSTB, DLTB, SDLTB, UDLTB(1Y), SUDLTB(2Y), DGLB(4Y)





...อะไรทำนองนั้นครับ




เผื่อท่านใดอย่ากรู้โค้ด..

VGB = Very Good Blogger

GB+ =Good Blogger Plus

GB =Good Blogger

DSTB = Dong Short Time Blogger

DLTB = Dong Long Time Blogger

SDLTB = Super Dong Long Time Blogger

UDLTB(1Y) = Ultra Dong Long Time Blogger(1 Year)

SUDLTB(2Y) = Super Ultra Dong Long Time Blogger(2 Years)

DGLB(4Y) = Dong God Like Blogger(4 Years)




ข้อมูลอ้างอิง :

http://en.wikipedia.org/wiki/High-definition_television

hhttp://en.wikipedia.org/wiki/Image_resolution

http://en.wikipedia.org/wiki/Display_resolution

http://en.wikipedia.org/wiki/Widescreen

http://en.wikipedia.org/wiki/HDV

http://en.wikipedia.org/wiki/HD_ready

http://en.wikipedia.org/wiki/File:Vector_Video_Standards2.svg

http://en.wikipedia.org/wiki/Full_HD

http://www.squidoo.com/Full_HD_Ready_HDTV

http://www.geekzone.co.nz/forums.asp?forumid=83&topicid=25545

http://www.sony.co.uk/article/id/1207064684056

http://en.wikipedia.org/wiki/Progressive_scan

http://en.wikipedia.org/wiki/Interlace

http://en.wikipedia.org/wiki/PAL

http://en.wikipedia.org/wiki/Bit_rate

http://en.wikipedia.org/wiki/Academy_frame

http://en.wikipedia.org/wiki/35_mm_film

http://en.wikipedia.org/wiki/Negative_pulldown

http://en.wikipedia.org/wiki/4K_resolution

http://en.wikipedia.org/wiki/Digital_cinematography

http://en.wikipedia.org/wiki/Red_Digital_Cinema_Camera_Company

http://en.wikipedia.org/wiki/Digital_cinema

http://en.wikipedia.org/wiki/High-definition_video

http://en.wikipedia.org/wiki/Computer_display_standard

http://en.wikipedia.org/wiki/DVD-Video

http://en.wikipedia.org/wiki/Blu-ray_Disc

http://www.blu-ray.com/faq/

http://forum.blu-ray.com/blu-ray-technology-news/52702-anyone-know-average-video-bit
-rate-blu-ray-movie.html


http://en.wikipedia.org/wiki/Aspect_ratio_%28image%29

http://en.wikipedia.org/wiki/Letterbox

http://en.wikipedia.org/wiki/Contrast_ratio

http://gizmodo.com/259495/contrast-ratio-shoot+out-everyone-loses

http://www.gizmag.com/go/6704/

http://en.wikipedia.org/wiki/Ultra_High_Definition_Video

http://www.lcdtvthailand.com/article/detail.asp?param_id=50

http://www.lcdtvthailand.com/article/detail.asp?param_id=1

http://www.onkyo.co.th/index.php?mo=3&art=397591

http://www.onkyo.co.th/index.php?mo=3&art=400053

http://forums.overclockzone.com/forums/showthread.php?t=338451

http://www.createsoundmaker.com/webboard/index.php?topic=283.0

http://en.wikipedia.org/wiki/Intel_High_Definition_Audio

http://en.wikipedia.org/wiki/Decibel

http://en.wikipedia.org/wiki/Sound_pressure_level



http://en.wikipedia.org/wiki/Hi_fi




Credit : http://clockrun.exteen.com








ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น