วันศุกร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2557

วีดีโอแบบ 4k คืออะไร

มาตรฐานวีดีโอแบบ 4k คืออะไรสำหรับเทคโนโลยี 4K ทาง Consumer Electronics Association หรือ CEA ได้สรุปออกมาแล้วว่าให้ทุกค่ายทีวีใช้คำว่า Ultra High Definition (Ultra HD หรือ UHD) ในการเรียกความละเอียดแบบนี้ ซึ่งแบรนด์ทีวี, จอฉาย, หรือเครื่องเล่น จะต้องทำการเรียกและประชาสัมพันธ์สินค้าด้วยคำว่า Ultra High Definition แทนคำว่า 4K 4K หรือ Ultra High Definition คือมาตรฐานใหม่ของความละเอียดของ "จอภาพ" และ "คอนเทนต์" โดย K ย่อมาจาก Kilo ซึ่งเท่ากับ 1000 ดังนี้ 4K ก็หมายถึง 4000 นั่นเอง สำหรับความละเอียดหน้าจอสำหรับทีวี 4K แบบ Widescreen หมายถึงมีความละเอียด 3840 x 2160 พิกเซล ผลรวมออกมาก็ได้ประมาณ 8.29 ล้านพิกเซล ทั้งนี้ความละเอียดในแนวนอนเท่ากับ 3840 เพื่อให้ง่ายต่อการเรียกจึงมีการปัดเศษขึ้นให้เป็น 4000 จึงเป็นที่มาของคำว่า 4K นั่นเอง ! ในทางกลับกันทีวี Full HD ซึ่งเป็นมาตรฐานในตอนนี้มีความละเอียด 1920 x 1080 พิกเซล ซึ่งผลรวมออกมาได้ประมาณ 2.07 ล้านพิกเซล จะเห็นได้ว่าความละเอียดหน้าจอของทีวี 4K มากกว่าทีวีแบบ Full HD ถึง 4 เท่า โดยเจ้าความละเอียด 4K นั้นกำลังจะเข้ามาเป็นมาตรฐานใหม่ในอุตสาหกรรมภาพยนตร์และโทรทัศน์ ทั้งการถ่ายทำด้วยกล้องความละเอียด 4K และจอฉายแบบ 4K และตลอดจนสินค้าทีวีและโฮมเอ็นเตอร์เทนเมนท์ สำหรับมาตรฐาน 4k ที่นำมาใส่ในจอทีวีรุ่นใหม่ๆนั้น จะเป็นแบบ Quad Full High Definition ตัวย่อ QFHD ความละเอียดที่ 3840x2160 มีขนาดเป็น 4 เท่า ของไฟล์แบบ Full HD 1080

ประโยชน์ของภาพ 4K ในเชิงคุณภาพของภาพ ยิ่งเม็ดพิกเซลเยอะ ก็จะส่งผลให้ขนาดเม็ดพิกเซลมีความเล็กและเรียงตัวกันถี่มากยิ่งขึ้น "รอยหยักตามขอบภาพแบบขั้นบันได" (Jaggies) ก็จะน้อยลง รวมถึงพื้นที่ "รอยต่อระหว่างพิกเซล" (Screen Door Effect) ก็จะแคบลงทำให้ภาพแลดูเรียบเนียนมากยิ่งขึ้น มาตรฐานวงการทีวีไฮเดฟฟินิทชั่นแบบไวด์สกรีน HD = 1366 x 768 Full HD = 1920 x 1080 Ultra HD (4K) = 3840 x 2160 ในอนาคตอันใกล้ มาตรฐานความละเอียดของจอภาพและคอนเทนต์ก็จะสูงขึ้นอีก โดยคาดการณ์ว่าจะกลายเป็น 8K Ultra High Definition หรือ 7680 x 4320 ในที่สุด


วันพฤหัสบดีที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2557

Aspect ratio คืออะไร?


บทนำ
   ก่อนอื่น ก็ต้องรู้จักก่อนว่า Aspect ratio คืออะไร Aspect ratio ก็คืออัตราส่วนของด้านกว้างต่อด้านสูงของจอภาพ นั่นเอง อย่าง TV จอตู้ทั่วไป(ที่ไม่ใช่พวก TV จอบางๆ)จะมี Aspect ratio ที่ 4:3 (อ่านว่า สี่ต่อสาม )ซึ่งหมายถึงมีด้านกว้างของจอ(แนวนอน) 4 หน่วย และมีด้านสูงของจอ(แนวตั้ง) 3 หน่วย อย่างไรก็ตาม เหล่านักวิชาการด้านภาพทั้งหลาย ก็พยายามที่จะลดตัวเลขลงให้เข้าใจง่ายๆเป็น 1.33:1 หรือ 1.33 เฉยๆ (ซึ่งก็คือ เอา 4 หาร 3 นั่นเอง) เนื่องจากหากจอภาพขนาดใหญ่มากๆ หลายๆเมตร ถ้าเราใช้ 4:3 จะนึกภาพไม่ออก หรือคำนวนขนาดลำบาก ก็เลยเรียกกันง่ายๆว่า 1.33 จะคำนวนออกมาง่ายกว่า

ประวัติศาสตร์ของ Cinema aspect Ratios

    ทีนี้เจ้าหน่วย 4:3 มีที่มาอย่างไร..ก็มีเรื่องเล่ากันว่า ในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 Thomas Edison และผู้ช่วยของเขา Willium L.K Dickson (โทมัส อัลวา เอดิสัน คนเดียวกันกับที่คิดค้นหลอดไฟนั่นแหล่ะ และเขายังเป็นผู้คิดค้นเครื่องถ่ายและฉายภาพ เครื่องตัดต่อแผ่นฟิล์ม จนนำไปสู่การสร้างภาพยนตร์ด้วยนะ;ที่มา วิกิพีเดีย) กำลังง่วนอยู้กับ film 70mm. ที่คิดค้นขึ้นมาใหม่โดยร่วมกับ George Eastman (ผู้คิดค้น และเป็นเจ้าของ film KODAK) 
    นายเอดิสันบอกว่า ฟิล์ม 70 mm. มันใหญ่เกินไป เวลาเก็บลำบากมาก และเปลืองพื้นที่ เปลืองเงิน เลยบอกให้นายดิกสัน และจอร์จ เอาไปตัดออกครึ่งนึง ดิกสันก็ถามว่า จะให้ตัดเท่าไหร่ โทมัสเลยเอานิ้วไปทาบกับฟิล์ม 70mm นั้นแล้วลากเส้น ปรากฏว่าเส้นนั้นคืออัตรส่วน 4:3 นั่นเอง (ภายหลังนักวิชาการบางคนก็ว่า เอดิสันใช้ “สัดส่วนทองคำ” หรือ “Golden Section” ประมาณ 1.6:1 ) ต่อมาเมื่อเอดิสันมีชื่อทางด้านฟิล์มภาพยนต์ ในปี 1917 ทาง Society of Motion Picture Engineers (SMPE) จึงได้วางมาตรฐานสากล ให้ฟิล์มภาพยนตร์(สมัยนั้น)ใช้อัตราส่วน 4:3 ยาวนานถึง 35 ปี


เอดิสัน

   ต่อมาก็เริ่มมีการผลิตโทรภาพ หรือโทรทัศน์ขึ้นมาในปี 1930 ก็ได้มีการใช้สัดส่วน 4 : 3 นี้ในการสร้างจอภาพเช่นเดียวกับภาพยนตร์ รวมทั้ง soft ware ต่างๆทางด้านภาพ เช่นการบันทึก VDO การ broadcast รายการต่างๆ ก็จัดและบันทึกในรูปแบบ 4:3 เรื่อยมา ถึงแม้เทคโนโลยีพัฒนาขึ้น แต่สัดส่วน 4:3 ก็ยังไม่เปลี่ยน เพื่อการ connect ที่ง่าย plug and play ไม่ต้องแปลงอะไรให้ยุ่งยากจนถึงปัจจุบัน



Getting Wide (เริ่มขยายสัดส่วน)
   หลังจากเริ่มมีการแพร่ภาพสัญญาณโทรทัศน์ครั้งแรกในปี 1939 โดยสถานี NBC จากนั้นก็ได้มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว ทั้งสื่อบันทึก ทั้งการมาของ Hollywood จากผู้ผลิตอัตราส่วน 4:3 ก็ได้มีการพัฒนาอัตราส่วนออกมาอีกมากมายเพื่อการแข่งขันทางภาพยนตร์..ปัจจุบัน สัดส่วนภาพมากมายเหล่านั้นได้หายไปเหลือไม่กี่สัดส่วนเท่านั้น แต่ยังไงก็ตาม สัดส่วน 4:3 ก็ยังคงเป็นมาตรฐานในการผลิต TV โดยทั่วไปอยู่ดี ถึงแม้ฟิล์มภาพยนตร์จะเป็น wide aspect แล้วก็ตาม

    จากข้อความข้างต้น ปัญหาจึงบังเกิด เนื่องจากบริษัทผลิตฟิล์มภาพยนตร์ที่ฉายตามโรง ใช้สัดส่วนที่กว้างกว่า 4:3 แต่การมาของสื่อต่างๆ เช่น VDO เทป ที่ต้องไปเปิดตามบ้าน ที่มี TV เป็น 4:3 นั้น เป็นต้นเหตุของปัญหา ทางบริษัทผลิตวิดีโอเทป จึงตัดปัญหาในการแปลงฟิล์มหนัง เป็นม้วนวิดีโอ โดยการ “ตัดด้านข้างออกแม่มเลย” เพื่อให้สัดส่วนออกมาได้ 4:3 พอดีกับที่ฉายบนจอ (แต่ก่อน TV ยังไม่มีระบบการ upscale หรือ down scale อะไรทั้งสิ้น มายังไง ฉายไปยังงั้น) ก็ทำกันเรื่อยมาโดยไม่มีปัญหา

    แต่ในปี 1979 บริษัทผลิตหนังเรื่อง Manhattan ไม่ยอมให้หนังของตน เผยแพร่ทีวีแบบถูกตัดด้านข้างทิ้ง เลยร่วมกันคิดค้นวิธีว่าจะทำไงดี เลยเป็นที่มาของ Letterboxing ซึ่งก็คือการย่อขนาดภาพกว้างยัดเข้าไปให้หมดในทีวี 4:3 แล้วใช้แถบดำปิดบนล่างแทน..หลายคนเริ่มคุ้นใช่ไหมครับ หลังจากหนังเรื่องนี้ ก็มีคนทำตามอีกมากมาย จนกลายเป็นที่มาของแถบดำบนล่าง เป็นต้นมา ทั้งในสื่อ DVD หรือ HDboardcast ในปัจจุบัน 


Manhattan(1979)


Display Resolution

   อ้าว แล้วถ้าเราต้องการดู wide แบบเต็มๆจอจะทำไงอ่ะ เราอุตส่าซื้อจอภาพแบบ wide screen มาแล้วนิในเมื่อเขาทำ letterbox มาในทุกๆสื่อบันทึก ก็ไม่ยาก ขอบคุณ function zoom ในเครื่องเล่น vdo หรือเครื่องฉาย ทำให้เราสามารถดูสัดส่วน 4:3 ที่ถูก letterboxing มาแล้ว แบบเต็มจอในจอภาพ wide ได้ (หากไม่เข้าใจ เดี๋ยวมีรูปประกอบ) ปัญหาของวิธีการ letterboxing คือ เราจะมี pixel ที่หายไป เนื่องจากต้องเอาไปตัดเป็นแถบดำคาดบนล่าง จากความสูง 480 เส้นในแบบ VGA จะเหลือ 320 – 360 เส้นเท่านั้น ทำให้เราใช้ pixel ไม่เต็มที่ เสียของ 

กว้างขึ้นอีกนิด

ย้อนกลับไปในยุค 1950 ยังมีคนอีกกลุ่มที่นิยม Cinemascope ได้คิดค้นอีกนวัตกรรมนึงที่ไม่ต้องใช้แถบดำให้เสีย pixel ไป โดยการคิดค้น “Anamorphic lens” ขึ้นมา โดยใช้ anamorphic lens ตัวนี้บีบภาพ wide screen ลง film หนัง 4:3 แล้วใช้ reverse anamorphic เพื่อ ขยายภาพลงบนจอ wide screen อีกที ว่ากันว่าในตอนแรก โรงภาพยนตร์ของ Hollywood ก็ไม่ใช้วิธีประหลาดๆนี้ แต่ต่อมาก็หันมาใช้กันแพร่หลาย เนื่องจาก แทบไม่ต้องเพิ่มต้นทุนอะไรเข้าไปเลย นอกจากเลนส์สองตัว ซึ่งวิธีการ anamorphic lens นี้ ก็ได้นำกลับมาใช้ในปัจจุบัน ในเครื่องโปรเจคเตอร์บางชนิด ซึ่งก็มีทั้งที่ใช้เลนส์ และใช้ digital ในการซูมและขยายภาพ หรือที่เรียกว่า lens memory นั่นเอง

การแสดงผลในกรณีแหล่งภาพต่าง Resolution กัน


นอกจากการแก้ไข หรือปรับปรุงที่เครื่องฉาย หรือการฉายแล้ว ตัวผู้ผลิต Screen เอง ก็มีการผลิตที่เน้นเรื่องสัดส่วนภาพเช่นกัน ตัวอย่างเช่น ทำ Screen สองอัน สองสัดส่วน ในกล่องเดียวกัน ถ้าเราต้องการดู 16:9 ก็ดึงอัน 16:9 ลงมา ถ้าต้องการดู 4:3 ก็ไปดึงเอาแบบ 4:3 ลงมา หรือบางเจ้าก็ทำม่านไฟฟ้า มาพร้อมในกล่อง Screen เลย มีการยกปิด ยกเปิดแถบดำเวลาฉายภาพสัดส่วนต่างๆกันไป 

Screen(จอภาพ)รูปแบบต่างๆ 


บิดาแห่ง 16:9
เคยถามคำถามไหมครับว่าสัดส่วน 16:9 ซึ่งปัจจุบันก็เป็นมาตรฐานในจอภาพแบบ HD หรือจอ Wide screen ทั่วไป สัดส่วนนี้มันมาจากไหน เรามาดูกัน..

   จากที่กล่าวไปแล้วในข้อความด้านบน ว่าสัดส่วนของภาพในปัจจุบันเหลืออยู่ไม่กี่อันที่เป็นที่ยอมรับ ซึ่งก็ได้แก่ 1.33 โดย The academy standard aspect ratio, 1.67 (The European wide screen aspect ratio), 1.85 (The American widescreen aspect ratio), 2.20(Panavision) และสุดท้าย 2.35(CinemaScope)…อ้าว แล้ว 16:9 หรือ 1.77 ของหนูหายไปไหน?? ไม่ต้องแปลกใจ คำตอบอยู่ที่ “Mr.Kerns Powers” นั่นเอง

    ประมาณปี 1980 ขณะที่เทคโนโลยีด้านภาพกำลังวุ่นวายกับสัดส่วนต่างๆดังที่กล่าวไป (คล้ายๆกับกรณีแรงดันไฟยุโรป 110 เมกา 220 หรือแม้แต่เต้าเสียบ เต้ารับ คนละโซนรูยังต่างกัน ) ทาง SMPE (ยังจำได้ไหม ถ้าไม่ได้ ก็ไปดูย่อหน้าแรกๆ) ก็ได้สุมหัวกันว่า ตูจะทำไงดีฟะ ให้ทีวีมันรับภาพได้หลากหลายโดยไม่ต้องวุ่นวายกับพวก aspect ratio เหล่านี้

    ในขณะที่กำลังประชุมกันวุ่นวาย นาย Kerns Powers ก็ได้เดินเข้ามา หยิบกระดาษไข ดินสอบ แล้ววาดรูปสี่เหลี่ยมตามสัดส่วนต่างๆลงไปในกระดาษแต่ละใบโดยใช้สัดส่วนเท่ากัน แล้วก็เอามาซ้อนทับกัน..โอ้วมายก๊อดดด สัดส่วน 16:9 ก็ ปรากฏออกมาให้เห็นอย่างไม่น่าเชื่อเลยจอร์จจจจ (ดูภาพประกอบ) ทำให้ไม่ว่าจะทำหนังสัดส่วนขนาดไหนก็ตาม ก็สามารถเอามายัดลง 16:9 ได้หมด มันเยี่ยมจริงๆ 

K.P. Ratio




ตัวอย่าง Aspect ratio ที่เป็นมาตรฐานสากล







แต่ Aspect ratio ก็ไม่มีอะไรตายตัวนะครับ 

ขึ้นอยู่กับความชอบส่วนบุคคลด้วย

ในตัวอย่างนี้คือ 3.56:1



จากตัวอย่างดังกล่าวผมจะใช้คำนวนหา Aspect ratio ที่เราต้องการแบบง่ายๆ

สำหรับนักตัดต่อและช่างภาพ Cinema 

ตัวอย่างนี้ Aspect ratio 3.56:1

ในกรณีที่เราถ่ายทำและตัดต่อที่ Full Hd 1920x1080

ความยาวของจอคือ 1920

ความสูงของจอคือ 1080

การคำนวนหา Aspect ratio คือการหาความสูงของจอใหม่

ให้เกิดสัดส่วนภาพที่ต้องการ

1920 ÷ 3.56 = 548.571428571

ปัดเศษก็จะกลายเป็น 550

เพราะฉะนั้น 1920x1080

Aspect ratio 3.56:1

ก็จะกลายเป็น 1920 x 550

หรือถ้าเป็น 2.35:1

1920 ÷ 2.35 = 817.021276596


หวังว่าคงจะเป็นประโยชน์แก่ผู่สนใจทุกท่านครับ









บทภาพยนตร์ (SCREENPLAY)

บทภาพยนตร์ (SCREENPLAY) เปรียบเสมือนแบบร่าง(Sketch design)ของการสร้างภาพยนตร์ บทภาพยนตร์จะมีความคล้ายคลึงกับวรรณกรรมตรงที่การบอกเล่าเรื่องราวว่า ใครทำอะไร ที่ไหน อย่างไร แต่จะแตกต่างที่บทภาพยนตร์นั้นต้องสื่อความหมายออกมาเป็นภาพ โดยใช้ภาพเป็นตัวสื่อความหมาย เพื่อโน้มน้าวจินตนาการของผู้ชม

"หากวางโครงสร้างของบทภาพยนตร์ไม่ดีพอ...ย่อมไม่มีทางทำให้ภาพยนตร์เรื่องนั้นออกมาดีได้"

องค์ประกอบของการเขียนบทภาพยนตร์

1.เรื่อง (STORY) หมายถึงเหตุการณ์หรือเรื่องราวที่เกิดขึ้น โดยมีจุดเริ่มต้นและดำเนินไปสู่จุดสิ้นสุด เรื่องอาจจะสั้นเพียงไม่กี่นาที อาจยาวนานเป็นปี หรือไม่รู้จบ(Infinity) ก็ได้ สิ่งสำคัญในการดำเนินเรื่อง คือปมความขัดแย้ง(Conflict)ซึ่งก่อให้เกิดการกระทำ ส่งผลให้เกิดเป็นเรื่องราว

2.แนวความคิด (CONCEPT) เรื่องที่จะนำเสนอมีแนวความคิด(Idea)อะไรที่จะสื่อให้ผู้ชมรับรู้

3.แก่นเรื่อง (THEME) คือประเด็นเนื้อหาสำคัญหรือแกนหลัก(Main theme)ของเรื่องที่จะนำเสนอ ซึ่งอาจประกอบด้วยประเด็นรองๆ(Sub theme)อีกก็ได้ แต่ต้องไม่ออกนอกแนวความคิดหลัก

4.เรื่องย่อ (PLOT) เป็นจุดเริ่มต้นของภาพยนตร์ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่คิดขึ้นมาใหม่ เรื่องที่นำมาจากเหตุการณ์จริง เรื่องที่ดัดแปลงมาจากวรรณกรรม หรือแม้แต่เรื่องที่ลอกเลียนแบบมาจากภาพยนตร์อื่น สิ่งแรกนั้นเรื่องต้องมีความน่าสนใจ มีใจความสำคัญชัดเจน ต้องมีการมีการตั้งคำถามว่า จะมีอะไรเกิดขึ้น(What...if...?)กับเรื่องที่คิดมา และสามารถพัฒนาขยายเป็นโครงเรื่องใหญ่ได้

5.โครงเรื่อง (TREATMENT) เป็นการเล่าเรื่องลำดับเหตุการณ์อย่างมีเหตุผล เหตุการณ์ทุกเหตุการณ์จะต้องส่งเสริมประเด็นหลักของเรื่องได้ชัดเจน ไม่ให้หลงประเด็น โครงเรื่องจะประกอบด้วยเหตุการณ์หลัก(Main plot)และเหตุการณ์รอง (Sub plot) ซึ่งเหตุการณ์รองที่ใส่เข้าไป ต้องผสมกลมกลืนเป็นเหตุเป็นผลกับเหตุการณ์หลัก

6.ตัวละคร (CHARECTOR) มีหน้าที่ดำเนินเหตุการณ์จากจุดเริ่มต้นไปสู่จุดสิ้นสุดของเรื่อง ตัวละครอาจเป็นคน สัตว์ สิ่งของ หรือเป็นนามธรรมไม่มีตัวตนก็ได้ การสร้างตัวละครขึ้นมาต้องคำนึงถึงภูมิหลังพื้นฐาน ที่มาที่ไป บุคลิกนิสัย ความต้องการ อันก่อให้เกิดพฤติกรรมต่างๆของตัวละครนั้นๆ ตัวละครแบ่งออกเป็นตัวแสดงหลักหรือตัวแสดงนำ และตัวแสดงสมทบหรือตัวแสดงประกอบ ทุกตัวละครจะต้องมีส่งผลต่อเหตุการณ์นั้นๆ มากน้อยตามแต่บทบาทของตน ตัวเอกย่อมมีความสำคัญมากกว่าตัวรองเสมอ

7.บทสนทนา (DIALOGUE) เป็นถ้อยคำที่กำหนดให้แต่ละตัวละครได้ใช้แสดงโต้ตอบกัน ใช้บอกถึงอารมณ์ ดำเนินเรื่อง และสื่อสารกับผู้ชม ภาพยนตร์ที่ดีจะสื่อความหมายด้วยภาพมากกว่าคำพูด การประหยัดถ้อยคำจึงเป็นสิ่งที่ควรทำ ความหมายหรืออารมณ์บางครั้งอาจจำเป็นต้องใช้ถ้อยคำมาช่วยเสริมให้ดูดียิ่งขึ้นก็ได้

โครงสร้างการเขียนบท

1.จุดเริ่มต้น (BIGINNING) ช่วงของการเปิดเรื่อง แนะนำเรื่องราว ปูเนื้อเรื่อง

2.การพัฒนาเรื่อง (DEVELOPING) การดำเนินเรื่อง ผ่านเหตุการณ์เดียวหรือหลายเหตุการณ์ เนื้อเรื่องจะมีความซับซ้อนมากขึ้น

3.จุดสิ้นสุด (ENDING) จุดจบของเรื่อง แบ่งออกเป็นแบบสมหวัง(Happy ending)ทำให้รู้สึกอิ่มเอมใจ และแบบผิดหวัง(Sad ending)ทำให้รู้สึกสะเทือนใจ


ปัจจัยสำคัญในโครงสร้างบท

1.แนะนำ (INTRODUCTION) คือการแนะนำเหตุการณ์ สถานการณ์ สถานที่ ตัวละครสิ่งแวดล้อม และเวลา

2.สร้างเงื่อนไข (SUSPENSE) คือการกระตุ้นให้เนื้อเรื่องดำเนินไปอย่างลึกลับมีเงื่อนไข มีปมผูกมัด ความขัดแย้ง ทำให้ผู้ชมเกิดความสงสัยและสนใจในเหตุการณ์

3.สร้างวิกฤตกาล (CRISIS) คือการเผชิญปัญหา วิเคราะห์ปัญหาของตัวละคร และหาทางแก้ไข หาทางออก หากตัวละครวนเวียนอยู่กับปัญหานานมากจะทำให้ผู้ชมรู้สึกหนักและเบื่อขึ้นได้ ควรที่จะมีการกระตุ้นจากเหตุการณ์อื่นมาแทรกด้วย

4.จุดวิกฤตสูงสุด (CLIMAX) เป็นช่วงเผชิญหน้ากับปัญหาครั้งสุดท้ายที่ถูกบีบกดดันสูงสุด ทำให้มีการตัดสินใจอย่างเด็ดขาด

5.ผลสรุป (CONCLUSION) คือทางออก ข้อสรุป ทำให้เกิดความกระจ่าง ภาพยนตร์บางเรื่องอาจไม่มีบทสรุป ก็เพื่อให้ผู้ชมนำกลับไปคิดเอง

โครงสร้างเรื่อง
ในแต่ละช่วงตอนจะประกอบด้วยปัจจัยสำคัญทั้ง 5 เสมอ

จุดเริ่มต้น (BIGINNING) คือ
1.แนะนำ (INTRODUCTION)
2.สร้างเงื่อนไข (SUSPENSE)
3.สร้างวิกฤตกาล (CRISIS)
4.จุดวิกฤตสูงสุด (CLIMAX)
5.ผลสรุป (CONCLUSION)

การพัฒนาเรื่อง (DEVELOPING)
1.แนะนำ (INTRODUCTION)
2.สร้างเงื่อนไข (SUSPENSE)
3.สร้างวิกฤตกาล (CRISIS)
4.จุดวิกฤตสูงสุด (CLIMAX
5.ผลสรุป (CONCLUSION)

จุดสิ้นสุด (ENDING)
1.แนะนำ (INTRODUCTION)
2.สร้างเงื่อนไข (SUSPENSE)
3.สร้างวิกฤตกาล (CRISIS)
4.จุดวิกฤตสูงสุด (CLIMAX)
5.ผลสรุป (CONCLUSION)

สรุป
บทภาพยนตร์ (SCREENPLAY) จะเป็นการเขียนอธิบายรายละเอียดเรื่องราว เมื่อได้โครงสร้างเรื่องที่ชัดเจนแล้วจึงนำเหตุการณ์มาแตกขยายเป็นฉากๆ ลงรายละเอียดย่อยๆ ใส่สถานการณ์ ช่วงเวลา สถานที่ ตัวละคร บทสนทนา การกระทำ บางครั้งอาจกำหนดมุมกล้อง ขนาดภาพ แน่นอนชัดเจนเลยก็เป็นได้ บทภาพยนตร์จึงเขียนเพื่อเป็นการเตรียมงานผลิด(Pre-production) และฝึกซ้อมนักแสดงโดยเฉพาะ หลังจากนั้นจึงพัฒนาต่อเป็นบทสำหรับการถ่ายทำ(Shooting script) และบทภาพ(Story board)ต่อไป

CG คืออะไร...อะไรคือCG

CG คืออะไร...อะไรคือCG
มีหลายคนสงสัยและพยามตั้งคำถามหาคำตอบหลายๆเว็บ แต่สิ่งที่ได้ก็ยังทำให้งงกันไปอีกยาวนานเรามาทำความรู้จักว่า CG คืออะไรกันก่อนดีกว่า ก่อนที่จะรู้ว่า อะไรคือCG

   เริ่มจากในปี 1973 ได้มีการทำคอมพิวเตอร์จำลองภาพเอามาใส่ในหนัง เรื่อง Westworld นะครับสิ่งนั้นเขาได้เรียกว่า Computer-generated imagery หรือ CGI จากนั้น ก็ได้แพร่หลายมาในหนังอีกหลายๆเรื่องจนมาถึง ปี 1995 ได้มีหนังได้ทำมาจากคอมพิวเตอร์ทั้งเรื่องเป็นครั้งแรก คือเรื่อง Toy Story ของ Pixar นั้นเอง โดยการทำได้ใช้ 3D computer graphics software ในการทำขึ้นมา 

  หลังงจากนั้นมากลุ่มคนที่ทำด้านนี้ที่มีอาชีพทางด้านนี้ได้เรียกตัวเอง ว่า CGI artists

โดยแบ่งแยกหน้าที่ในการทำต่างๆกันไปเช่น คนทำ artwork 

ก็ได้เรียกว่า computer generated artwork คนทำ ภาพเคลื่อนไวก็เรียกว่า Computer-generated animation แล้วก็แยกไปว่า animation อะไร เช่น Computer Generated Animation of Faces(คือเมืองนอกเขาแบ่งหน้าที่การทำชัดเจนนะครับไม่เหมือนเมืองไทยที่ 1คนทำสากกะเบือยังเรื่อรบนะครับ)

จากนั้น ก็มีแต่คำว่า computer generated ในหน้าที่ต่างแต่ละคนแต่ละหน้าที่(เริ่มเห็นคำว่า CG ยังครับ)

อย่างเช่น

computer generated artwork

Computer Generated Movies

Computer Generated Animation of ....

Computer Generated Pictures

Computer Generated 3D Art

Computer Generated 2D Art

computer Generated people

Computer Generated Dreams

Computer Generated Hologram


แม้แต่งานที่ช่วยในการสืบสวนก็ใช้

computer generated visual evidence


งานที่ไม่เห็นภาพก็ใช้

computer-generated Audio

computer-generated Music


แต่สิ่งที่เหมือนสิ่งที่ใช้ ในการทำ computer-generated คือล้วนเป็นหน้าที่ที่คนทำมักใช้ computer graphics software ในการทำจึงทำให้คนเหล่านี้ เรียกตัวเองว่า

CG ซึ้งมีความหมายว่า computer-generated คือการใช้คอมพิวเตอร์สร้างและจำลองขึ้นมาส่วนใครทำอะไรก็แล้วแต่หน้าที่


ดังนั้นคำว่า CG มีความหมายถึงกลุ่มคนที่ใช้โปรแกรม computer graphics software ต่างๆ ใช้คอมพิวเตอร์สร้างและจำลองขึ้นมา นะครับซึ่ง CG มากจากคำว่า computer-generated 

และเกิดการสับสนและคาบกึ่งคาบกลางกันมาระหว่าง คำว่า CG คนทำ CG จึงทำให้ความหมายของคำ CG กายเป็นที่เข้าใจในกลุ่มคนทั่วไปว่า มีความหมายคือ Computer Graphic มาจนถึงบัดเดี่ยวนี้


แล้ว อะไรคือ CG

  ตัวอย่างเช่น งานที่ผมทำขึ้นมาถ้าผมทำมากจาก 3D ก็จะบอกว่า ใช้3D หรือใช้ Maya ทำจาก 3D Maxหรือทำจาก Photoshop ก็บอกทำ Photoshop      แต่งานบางงานมันไม่ได้ทำมาจากโปรแกรมเดียว ใช้หลายโปรแกรมมีทั้ง 3D ทั้ง Photoshop บางที่ทำจาก 3D ใช้โปรแกรม3D ตั้ง 2 ตัวทำจาก Max ดึงเข้า Z brush ทำจาก Mudbox ดึงเข้า Maya บ้าง อะไรพวกนี้จะให้มาบอกว่าทำจากอะไรมันเป็นที่ยุ่งยากมากดังนั้นก็เลยต้องบอกไปว่า อ่อ ใช้ CG  หรือบางคน เกิดมาในชีวิตรู้จักแค่ Photoshop กะ Illustrator  พอบอกชื่อโปแกรมอื่นไป ถามกลับทันทียืดยาวมาก ผมเชื่อหลายๆคนเคยโดยถามพอคุณบอกชื่ออโปรแกรมไปแล้วคุณคำว่ามันเหมือนหรือต่างจากโปรแกรมนี้มั้ย ทำไมไม่ใช้โปรแกรมนี่ล่ะ อะไรประมาณนี้ ?มันเป็นอะไรที่พูดยากต้องใช่แน่ๆ รู้ทั้งรู้ว่าใช่แต่ใจก็พูดไม่ได้ โย่ๆๆ? ดังนั้นสิ่งที่จะบอกขึ้นมาได้ก็คือเป็น CG ครับใช้คอมพิวเตอร์ หลายโปรแกรมสร้างขึ้น

   แล้วทำไมไม่บอกไปว่า ใช้ Computer Graphic  คือคนส่วนใหญ่ที่ไม่ได้อยู่ในวงการนี้หรือไม่ได้เกี่ยวข้องกะอะไรพวกนี้เขาไม่รู้จักหรอกครับไอ้คำว่า Computer Graphic  บางคนพอพูดก็เขาเข้าใจว่ามันต้องใช้ Photoshop ทำแน่ๆ คุณลองไปถามคนที่เขาทำงานด้านอื่นดูนะครับ คำว่า Graphic  หรือ Computer Graphic  คืออะไรมันใช้อะไรทำมันทำอะไรกัน

   ผมเจอบ่อยนะครับร้านค้าเห็นเราเลิกงานมาบางทีมันดึกเขาก็ถามทำงานอะไรเหรอเป็นคำถามที่ประมาณว่ากรูตอบไปแล้วยาวคือมรึงไม่รู้ชั่วล้านเปอร์เซ็นต์ว่ามันคืออะไร

เวลาผมไปต่างจังหวัดนะครับเวลาใครถาม ?ไอ้หนูทำงานอะไรเหรอ?  ผมตอบกลับไป ?รับจ้างครับ? จบเรื่องไม่งั้นยาวเล่าไปอธิบายไปสิเขาคงเข้าใจ มันเป็นงานและอาชีพจำเพาะนะครับงานพวกนี้ บางทีบอกความจริงไปถามกลับมาว่ามันทำยังไงเหรอ

โอ่แม่เจ้า... ผมตอบปัดๆ ว่า ?ทำงนเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์?  เขาตอบกลับอีก ?อ่อ เปิดร้านคอมเหรอ?   ?ครับ? จบเรื่อง หลังจากนั้นพี่แก่มาเรียกผมไปดูคอมที่บ้านแกครับคือคอมเขาเสีย แม่เจ้า....

   ดังนั้นคนที่เมืองนอกเขาก็เจออะไรพวกนี้เหมือนกันการมานั่งตอบทำอะไรมันเป็นเรื่องที่พูดยากนะครับยิ่งในยุคแรกที่ทำเกี่ยวกับอะไรพวกนี้ดังนั้นการตัดปัญหาก็ก็พูดขึ้นมาว่า ใช้คอมเตอร์สร้างขึ้นจำลองขึ้น อะไรพวกนี้ นั้นก็คือคำว่า Computer-generated imagery หรือ หนังที่เราได้ยิน ว่าใช้ CG ก็ประมาณว่ากรู้ก็ไม่รู้จะบอกคุณยังไงดีมันได้ได้ใช้แค่โปรแกรมเดียวทำใช้ตั้งหลายวิธีซ้อนไปซ้อนมานะครับ อย่างบางคนเข้าใจว่าเขาใช้ 3D ทำก็เช้าใจว่ามันใช้โปรแกรม 3D เดียว จริงๆแล้วมันไม่ใช่นะครับบางอย่างมันมาจาก 3D บางอย่างของจริงบางอย่างภาพถ่าย บางอย่าง ทำใน โปรแกรมคอมโพส หลายอย่างมารวมกัน อย่าง Avatar อวตาร งี้มันมีทั้ง 3D ทั้งภาพจริงมารีทัช มีทั้งเพ้นท์ หลายเทคนิคกันอยู่ให้เกิดการสมจริง เขาก็ไม่รู้จะบอกคุณยังไงก็บอกว่าใช้ CG ทำ คือใช้คอมพิวเตอร์สร้างขึ้นมา

   หรือเวลาคุณเขียนสตอรี่บอร์ด มีอยู่ซีน 1 ที่คุณต้องใช้คอมพิวเตอร์สร้างใช้โปรแกรมอะไรก้แล้วแต่คุณก็ต้องอธิบายให้ลูกค้าให้รู้ว่า มันใช้CG นะครับฉากนี้ ก็ผมจะใช้คอมพิวเตอร์สร้างฉากนี้ขึ้นมาทั้งฉาก ไม่มีใครมาบอกว่าผมใช้คอมพิวเตอร์กราฟฟิค บังเอิญลูกค้าไม่รู้จักคำนี้นะมียาว       แอดโฆณษาบางตัวอย่างภาพนิ่งบางคนเขาอาจจะถามไงว่านี่คุณถ่ายมาเหรอ นี่มันของจริงเหรออาจจะเป้นสินค้าอะไรสักอย่าง แต่คุณใช้คอมเตอร์จำลองมันขึ้นมา ก็บอกไปว่าอ่อ CG ครับ 

งานบางงานมัน advance มากมันไม่ได้ทำมาจากโปรแกรมเดียวนะครับเพื่อที่ให้งานออกมาอย่างที่คิดและหวังไว้นะครับ


สรุป

CG มันไม่ใช่ตำแหน่งหรือคำวิเศษวิโส อะไรอย่างที่หลายคนคิด 

มันก็คือคำสำหรับเอาไว้บอกคนที่เขาไม่รู้เรื่องไม่เข้าใจในขั้นตอนการทำงานเพราะกระบวนการทำมันค่อนข้างสลับซับซ้อนและยุ่งยากอีกทั้งเป็นเทคนิคเฉพาะของแต่ละที่แต่ละคน การจะมานั่งอธิบายเรื่องเหล่านี้มันเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก เลยสรุปออกมาเป็นทางการคือคำว่า "การใช้คอมพิวเตอร์จำลองหรือสร้างขึ้นมาให้เป็นแบบนั้นแบบนี้"  หรือ "Computer-generated imagery ( CGI )"  หากแต่ว่ากระบวนการมันไม่ได้ทำเหมือนกันทุกขั้นตอน แต่หลักๆ ก็คือมันต้องใช้คอมพิวเตอร์ ก็เลยมาเรียกรวบหัวรวบหางประมาณว่า "ใช้ทำคอมทำจากคอม" มันก็เลยเรียกสั้นๆกันว่า " CG " (ตามตัวอย่างข้างบนนะครับ)

แต่ที่บ้านเราพยายามหาคำตอบกันนั้นหรือไม่รู้ว่ามันคืออะไร มันเกิดมาจากความผิดพลาดทางด้านภาษา มันก็มาจาก พวกที่ จะพูดไทยก็ไม่ไทยไปเลย จะอังกฤษก็ไม่อังกฤษ ซะทีเดียว พวกชอบโชว์เหนือดันไทยคำอังกฤษคำ นี่แหละ จากคำง่ายๆ แทนที่คนทั่วไปจะเข้าใจ ดันไปพูดทับคำขึ้นก็งงอึ้งกันไปพอจะถามว่ามันแปลว่าอะไรก็กลัวอายกลัวโง่ ก็ทำเป็นว่าเข้าใจแบบงงแล้วก็เอาคำนั้นไปพูดต่อ พอมากเข้ามากเข้าไอ้คนอยากรู้ก็พยายามถาม แต่มันไม่ได้มีความเข้าใจตั้งแต่แรกแล้วก็ทำให้คำนี้เป็นที่สงสัย คนเดาก็เดามั่วไปแต่อธิบายไม่ได้ก็อย่างที่เห็นๆกันในเว็บต่างๆนั้นแหละ





Interlaced Scan VS Progressive Scan แตกต่างกันอย่างไร ???เมื่อไม่นานมานี้มีคนเข้ามาตั้งกระทู้ถามเรื่อง Interlaced Scan และ Progressive Scan ครับ ว่าแตกต่างกันอย่างไร วันนี้ Roman จะใช้กุญแจใจไขข้อสงสัยให้นะครับ ซึ่งบทความนี้เป็นพื้นฐานที่สำคัญมากๆสำหรับมือใหม่ครับ ^ ^

Interlaced Scan VS Progressive Scan



i = Interlaced Scan เป้นการสแกนภาพแบบเส้นเว้นเส้น  ยกตัวอย่างเช่น ทีวีมีความละเอียด 1080 เส้นในแนวนอน ทีวีก็จะสแกนเส้นเลขคี่ก่อนก็คือเส้นที่ 1,3,5,7,9,.....,จนถึงเส่้นสุดท้ายของเลขคี่ซึ่งก็คือเส้นที่ 1079 (รวมเป็น Field 1) แล้วค่อยกลับมาสแกนเส้นเลขคู่ก็คือ 2,4,6,8,10,......,จนถึงเส้น1080  ครับ (รวมเป็น Filed 2) เรียกง่ายๆคือการสแกนแบบฟันปลานั่นเอง

เสร็จแล้วก็เอาผลสแกนครั้งแรกซึ่งเป็นเลขคี่ (Field 1) และผลสแกนครั้งที่ 2 ซึ่งเป้นเลขคู่ (Field 2) มารวมล่างกันเป็น 1 Frame ผลลัพธ์ที่ตามมาคือภาพจะมีรอยหยักตามขอบภาพและมีการกระพริบตามขอบภาพเช่นพวกขอบโลโก้ช่องต่างๆ เนื่องจากสแกนเส้นเว้นเส้น 



p = Progressive Scan คือการสแกนภาพตั้งแต่เส้นที่ 1,2,3,4,....., ไปจนถึงเส้นสุดท้ายที่เส้น 1080 เป็นการสแกนบนลงล่างทีเดียวจบเลย เพราะฉะนั้นภาพที่ได้จะเนียนกว่าครับ

สรุป p ดีกว่า i ครับ นั้นหมายความว่า 1080p ภาพดีกว่า 1080i 

เครื่องเล่น DVD รุ่นเก่าๆยังไม่มี Progressive Scan ครับ รวมถึงทีวีรุ่นเก่าๆด้วยครับที่ไม่รองรับ Progressive Scan

แต่ในปัจจุบันเครื่องเล่น DVD มี Progressive Scan ทั้งหมดแล้ว และ Plasma TV & LCD TV รุ่นปัจจุบันทั้งหมดรองรับ Progressive Scan ครับ 

เพราะฉะนั้นตามหลักการแล้ว ถ้าเราเล่นเครื่องเล่น DVD ที่มี HDMI ให้ปรับการอัพสเกลสัญญาณไปที่ 1080p ภาพจะดีที่สุด

ตามเครื่องเล่น AV Reciever หลายๆยี่ห้อก็จะมีชิพตัวขจัดรอยหยักของภาพ ยกตัวอย่างเช่น DCDi (Directional Correlational De-Interlacing) ของ Faroudja ที่ทำให้ภาพแบบ i ใกล้เคียงหรือเทียบเท่าแบบ p ได้เลยครับ ในอดีตค่ายทีวีต่างๆใช้ชิพ DCDi ใส่ให้ทั้ง Plasma TV และ LCD TV ด้วยนะครับ แต่ปัจจุบันแทบไม่มีให้เห็นแล้ว

เพิ่มเติมความรู้ให้เล็กน้อยครับ ที่ต่างประเทศอย่างเกาหลีใต้และอเมริกาจะส่งสัญญาณเป็น Digitalแบบ HD นะครับ ส่วนใหญ่จะใช้เป็น 1080i ซึ่งจัดได้ว่าชัดมากแล้วครับ แต่ยังไม่สามารถทำเป็น 1080p ได้อย่างแพร่หลายครับ เนื่องจาก 1080p มันกิน Bandwith เยอะมากครับ 1080i เลยเป็นมาตรฐานสัญญาณภาพของประเทศเหล่านี้ไป โดยผมหวังว่าในอนาคตประเทศไทยจะมีโอกาสส่งสัญญาณ HD แบบ Digital แบบเค้าบ้างนะครับ


สถานที่ถ่ายภาพในกรุงเทพฯ

สถานที่ถ่ายภาพในกรุงเทพฯ
1. ฌ็องเซ่ลิเซ่ ติวานนท์ ค่าสถานที่ 3,500 บาท

2. รร.อิมฟิวชั่น แถวสุขุมวิท ค่าสถานที่ 3,000 บาท

3. รร.เซี่ยงไฮ้ เยาวราช เสียค่าสถานที่ 8,000 บาท 

4. Me Style Place ซอย 20 มิถุนา แยก 13 เขตห้วยขวาง ค่าสถานที่ 3,200 บาท

5. ร้าน CAKE WALK ตึก Grand Heritage ซ.ทองหล่อ 13 ค่าสถานที่ 2,000 บาท / 2 ช.ม.

6. เรือนบุษบา หลังสวน ค่าสถานที่ ชั่วโมงละ 1,000 บาท 2 ชั่วโมง 1,500 บาท

7. แพนดานัส Pandanus bar bistro สาทร ซอย 1 ค่าสถานที่ ชั่วโมงละ 3,000 บาท

8. บ้านคึกฤทธิ์ ซอยสวนพลู สาธร ค่าสถานที่ 1,000 / 1 ชุด หรือ 2,000 บาท / วัน

9. ABAC บางนา ค่าสถานที่ 2,000 บาท ถ้าเป็นศิษย์เก่าไม่เสียค่าใช้จ่าย (แต่ต้องติดต่อขออนุญาตก่อน )

10. สวนสยาม ค่าสถานที่ 2,000 บาท

11. ร้าน Sugaroma เอกมัย 12 ค่าสถานที่ ชั้นล่าง ชั่วโมงละ 800 บาท , ชั้นบน + ล่าง ชั่วโมงละ 1,500 

     บาท , ชั่วโมงต่อไป ชั่วโมงละ 500 บาท

12. Indy Tree Bar ถ.เชื้อเพลิง ค่าสถานที่ ชั่วโมงละ 800 บาท

13. ร้านอาหาร To Sit Pier 92 จรัญ 92 ค่าสถานที่ 2,000 บาท

14. Dream World เสียค่าผ่านประตู คนละ 150 บาท 

15. ร้านอาหารบ้านให้ความรัก ถ.อักษะ ค่าสถานที่ 1,500 บาท

16. ถ.อักษะ ไม่เสียค่าใช้จ่าย

17. ดับเพลิง บางรัก ค่าสถานที่ 1,500 บาท

18. สวนรถไฟ จตุจักร ค่าสถานที่ 1,000 บาท

19. สวนลุมพินี ถ.พระราม 4 ปทุมวัน ค่าสถานที่ 3,000 บาท

20. สวนหลวง ร.9 ประเวศ ค่าสถานที่ 1,000 บาท / 1 ชุด

21. อุทยานเบญจศิริ ถ.สุขุมวิท คลองเตย ค่าสถานที่ 3,000 บาท

22. สวนสันติชัยปราการ ถ.พระอาทิตย์ 

23. สวนเบญจกิตติ ข้าง ๆ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ค่าสถานที่ 5,000 บาท

24. อุทยานเฉลิมพระเกียรติ วัดสวนแก้ว พระราม 5 นนทบุรี ไม่เสียค่าสถานที่ แต่มีเงินประกัน 3,000 บาท 

25. สวนสราญรมย์ ถ.เจริญกรุง ตัดกับ ถ.ราชินี ค่าสถานที่ 3,000 บาท

26. สวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ จตุจักร ใกล้ ๆ สวนรถไฟ ไม่เสียค่าใช้จ่าย แต่ต้องทำเรื่องขออนุญาตก่อน

27. ถนนเยาวราช + ตรอกข้าวสาร + สะพานพระราม 8 ไม่เสียค่าใช้จ่าย แต่คนค่อนข้างเยอะ

28. ลานพระรูปทรงม้า และ พระที่นั่งอนันตสมาคม ไม่เสียค่าใช้จ่าย ถ่ายได้เฉพาะด้านนอกอย่างเดียว

29. โรงแรมต่าง ๆ ที่ลูกค้าจัดงาน ทางสถานที่จะไม่เก็บค่าใช้จ่ายในการถ่ายภาพ

      (แต่ต้องขออนุญาตกับทางโรงแรมก่อน )

30. โกดังปาปาย่า ลาดพร้าว 55 / 1 ค่าสถานที่ 2 ชั่วโมงแรก 1,500 บาท

      ชั่วโมงต่อไป ชั่วโมงละ 1,500 บาท

31. Rose Garden สวนสามพราน ค่าสถานที่ 3,500 บาท

32. ช็อคโกแล๊ต วิว นวมินทร์ ค่าสถานที่ 7,000 บาท

33. โครงการหมู่บ้านที่ลูกค้ารู้จักและสามารถติดต่อได้

34. สำนักงานหรือออฟฟิตที่ลูกค้าสามารถติดต่อได้

     ฯลฯ

Scene ,Cut ,Take คืออะไร?

ซีน (Scene) คือ “ฉาก” เป็นสถานที่หนึ่งในการถ่ายทำ เช่น ฉากบ้าน ,ฉากร้านอาหาร เป็นต้น โดยหากชื่อซีนซ้ำกัน เราอาจจะใช้ตัวเลขช่วยกำกับ เช่น ฉากบ้าน 1 , ฉากบ้าน 2 เพื่อไม่ให้สับสนก็ได้

     คัท (Cut) คือ “มุม” หรือ หน่วยที่ย่อยลงมาฉากนั่นเอง ส่วนมากแล้วจะเรียกคัทเป็นตัวเลข เช่น คัท 1 , คัท 2 ก็คือ มุม 1 , มุม 2 เป็นต้น

     เทค (Take) คือ  “จำนวนครั้งที่เล่น” ในการถ่ายภาพยนตร์ซักเรื่องหนึ่ง นักแสดงก็มีเล่นได้บ้างไม่ได้บ้าง ผู้กำกับก็ไม่ให้ผ่าน ต้องถ่ายซ้ำอีกรอบ นั่นคือ “เทค”  เช่น เทค 1 , เทค 2 ก็คือ เล่นครั้งที่ 1 , เล่นครั้งที่ 2 จนกว่าจะผ่าน

     คงเข้าใจกันแล้วนะครับว่า ซีน,คัท,เทค ต่างกันยังไง ใช้ยังไง ต่อไปผมจะยกตัวอย่างเวลาที่เอาไปใช้ในกองถ่ายจริงนะครับ เมื่อทุกอย่างพร้อมแล้ว ผู้ช่วยผู้กำกับจะขาน “กล้องพร้อม นักแสดงพร้อม เทปเดิน…ซีน 1 คัท 1 เทค 1…แอคชั่น” จากนั้นทุกอย่างก็จะเข้าสู่อีกโลกหนึ่ง จนกว่าผู้กำกับจะสั่ง “คัท !!!!” จึงกลับเข้าสู่โลกปัจจุบัน หากนักแสดงเล่นดี ผู้กำกับให้ผ่าน ก็จะคัทถัดไป หรือซีนถัดไป แต่หากเล่นไม่ผ่าน ก็ต้องเริ่ม เทค 2 กันอีกรอบ จนกว่าจะผ่าน และอีกเรื่องที่สำคัญ ! ทุกครั้งที่ถ่าย จะต้องมี Slate กำกับด้วยนะครับ (Slate คือ ป้ายที่เขียนบอก ซีน คัท เทค ) หากถ่ายวีดีโอเล่น ๆ มีไม่กี่ซีน ก็ไม่จำเป็น แต่หากเราถ่ายทำหนังสั้น หรืองานวีดีโอที่มีซีนมีคัทเยอะ ๆ จำเป็นมาก ๆ ครับ เพื่อคนที่ทำหน้าที่ตัดต่อวีดีโอ จะได้ลำดับถูกและไม่สับสน และทำงานได้อย่างรวดเร็วภายหลังจากการถ่ายทำ


วันอาทิตย์ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2557

TRISHA GOLD LIVE At Dipomat Bar Conrad Hotel Bangkok.

TRISHA GOLD เป็นนักร้องที่เดินทางไปร้องเพลงตามประเทศต่างๆทั่วโลกปี 2014 นี้เธอมาอยู่ที่ประเทศไทยประมาณ 2 เดือนที่ Dipomat Bar Conrad Hotel Bangkokเธออยู่เมืองไทยถึง 31 May 2014 ที่ผ่านมา

TRISHA GOLD มาร้องเพลงอยู่ที่ Dipomat Bar Conrad Hotel Bangkok นี่เองครับ เธอร้องได้ดีสุดๆ ระหว่างถ่ายทำแอบขนลุกกับเสียงทรงพลังของเธอตลอดเวลาครับ 
เธอร้องต่อเนื่องกันถึง 13 เพลง (บันทึกสดทั้งภาพและเสียง) สุดยอดจริงๆครับ

ณ เวลานี้เธอคงเดินทางไปร้องเพลงที่ประเทศอื่นแล้ว อีกนานกว่าจะกลับมาเมืองไทยอีกครั้ง

ปล.วีดีโอชุดนี้สามารถดูเป็น 4K ได้นะครับ คลิกที่เครื่องหมายเฟืองเลือก 2160p 4K      เพื่อความคมชัดระดับสูงสุดครับ

ขอบคุณ K.Arm(เจ้าของงาน)ที่ไว้วางใจให้ผมไปถ่ายทำ,และบันทึกเสียง รวมถึงได้มีโอกาสฟังเพลงเพราะๆในงานนี้ด้วยครับ

ขอบคุณครับ
PORPRODUCTION




Saving All My Love For You - Whitney Houston

Live Version by TRISHA GOLD



Someone Like You - Adele

Live Version by TRISHA GOLD 




CONTACT US

porproduction@live.com

085-842-3883(POR)<HOTLINE>

LINE ID : porproduction



วันเสาร์ที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2557

PORPRODUCTION - 3 AXIS BRUSHLESS GIMBAL

3 AXIS BRUSHLESS GIMBAL
อุปกรณ์ STABILIZER รูปแบบใหม่ สมบูรณ์ที่สุดเท่าที่เคยมีมา
สามารถสร้างสรรค์งานได้หลายรูปแบบ โดยเฉพาะงาน Long Take หรืองาน One Shot

3 AXIS BRUSHLESS GIMBAL ของเราถูกสั่งทำมาโดยเฉพาะ เราเลือกใช้ Motor ที่มีขนาดใหญ่สุดในตลาด มีความนิ่ง ความแข็งและความเสถียร มากกว่าอุปกรณ์ส่วนใหญ่ที่สั่งมาจากประเทศจีน  สามารถรับน้ำหนักกล้องขนาดใหญ่พร้อมเลนส์ได้โดยที่ระบบยังทำงานได้สมบูรณ์ 





















SET FOR RENTAL 

3 AXIS BRUSHLESS GIMBAL BY PORPRODUCTION

LIST 


3 AXIS BRUSHLESS GIMBAL x 1
 - Li - Polymer (ฺBattery) x 2

Cinematographer x 1


Camera Eos 6D x 1
 - LP - E6 (ฺBattery) x 5
 - SD Card 16 GB x 5

Lens


 - Nikon 50 mm F1.4 
 - Tokina 16 mm F2.8
 - Canon EF 20-35 mm F3.5-4.5     ปล.เพื่อความสะดวกและไม่เสียเวลาในการทำงานควรเลือกใช้เพียงเลนส์เพียงช่วงเดียว
     เพราะจะเสียเวลาในการ Set Up กับ Lens ใหม่ทุกครั้ง
     Lens ที่แนะนำคือ 
Tokina 16 mm F2.8 และCanon EF 20-35 mm F3.5-4.5   




PROMOTION  
GIMBAL+EOS6D+CINEMATOGRAPHER 
    6,000 Bath / 1Q. (5-6 Hours)  
                                                                                           

ราคาพร้อมถ่ายทำ (กล้อง+ช่างภาพ +Gimbal)

Price included shooting (Camera + Cinematographer + Gimbal)

ปล.ช่วงเวลาทำงาน ไม่เกิน 6 ชม.  OT ชม.ละ 500 บาท
(เศษของนาทีตั้งแต่ 10 นาที ขึ้นไปนับเป็น 1 ชั่วโมง)
       ไม่เอากล้องและช่างภาพ เหลือ 5,000 บาท
       ราคานี้เฉพาะในเขตกรุงเทพมหานคร
       ไกลกว่า 30 Km. จาก บางนา กม.12 ,ปริมณฑล (คิดค่าเดินทางเพิ่ม 500-1,000 บาท)
       ต่างจังหวัดคิดค่าเดินทางและที่พักตามจริง
       มัดจำ 50% จ่ายส่วนที่เหลือในวันถ่ายทำ



This price is only available in Bangkok.
Not include the cost to go to the provincial and the rental place.
A trip to the provinces. Customer is responsible for all costs.

Pay 50% for booking. 
Pay the rest within shooting day.





CONTACT US

porproduction@live.com

085-842-3883(POR)<HOTLINE>

LINE ID : porproduction