วันพฤหัสบดีที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2557

Aspect ratio คืออะไร?


บทนำ
   ก่อนอื่น ก็ต้องรู้จักก่อนว่า Aspect ratio คืออะไร Aspect ratio ก็คืออัตราส่วนของด้านกว้างต่อด้านสูงของจอภาพ นั่นเอง อย่าง TV จอตู้ทั่วไป(ที่ไม่ใช่พวก TV จอบางๆ)จะมี Aspect ratio ที่ 4:3 (อ่านว่า สี่ต่อสาม )ซึ่งหมายถึงมีด้านกว้างของจอ(แนวนอน) 4 หน่วย และมีด้านสูงของจอ(แนวตั้ง) 3 หน่วย อย่างไรก็ตาม เหล่านักวิชาการด้านภาพทั้งหลาย ก็พยายามที่จะลดตัวเลขลงให้เข้าใจง่ายๆเป็น 1.33:1 หรือ 1.33 เฉยๆ (ซึ่งก็คือ เอา 4 หาร 3 นั่นเอง) เนื่องจากหากจอภาพขนาดใหญ่มากๆ หลายๆเมตร ถ้าเราใช้ 4:3 จะนึกภาพไม่ออก หรือคำนวนขนาดลำบาก ก็เลยเรียกกันง่ายๆว่า 1.33 จะคำนวนออกมาง่ายกว่า

ประวัติศาสตร์ของ Cinema aspect Ratios

    ทีนี้เจ้าหน่วย 4:3 มีที่มาอย่างไร..ก็มีเรื่องเล่ากันว่า ในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 Thomas Edison และผู้ช่วยของเขา Willium L.K Dickson (โทมัส อัลวา เอดิสัน คนเดียวกันกับที่คิดค้นหลอดไฟนั่นแหล่ะ และเขายังเป็นผู้คิดค้นเครื่องถ่ายและฉายภาพ เครื่องตัดต่อแผ่นฟิล์ม จนนำไปสู่การสร้างภาพยนตร์ด้วยนะ;ที่มา วิกิพีเดีย) กำลังง่วนอยู้กับ film 70mm. ที่คิดค้นขึ้นมาใหม่โดยร่วมกับ George Eastman (ผู้คิดค้น และเป็นเจ้าของ film KODAK) 
    นายเอดิสันบอกว่า ฟิล์ม 70 mm. มันใหญ่เกินไป เวลาเก็บลำบากมาก และเปลืองพื้นที่ เปลืองเงิน เลยบอกให้นายดิกสัน และจอร์จ เอาไปตัดออกครึ่งนึง ดิกสันก็ถามว่า จะให้ตัดเท่าไหร่ โทมัสเลยเอานิ้วไปทาบกับฟิล์ม 70mm นั้นแล้วลากเส้น ปรากฏว่าเส้นนั้นคืออัตรส่วน 4:3 นั่นเอง (ภายหลังนักวิชาการบางคนก็ว่า เอดิสันใช้ “สัดส่วนทองคำ” หรือ “Golden Section” ประมาณ 1.6:1 ) ต่อมาเมื่อเอดิสันมีชื่อทางด้านฟิล์มภาพยนต์ ในปี 1917 ทาง Society of Motion Picture Engineers (SMPE) จึงได้วางมาตรฐานสากล ให้ฟิล์มภาพยนตร์(สมัยนั้น)ใช้อัตราส่วน 4:3 ยาวนานถึง 35 ปี


เอดิสัน

   ต่อมาก็เริ่มมีการผลิตโทรภาพ หรือโทรทัศน์ขึ้นมาในปี 1930 ก็ได้มีการใช้สัดส่วน 4 : 3 นี้ในการสร้างจอภาพเช่นเดียวกับภาพยนตร์ รวมทั้ง soft ware ต่างๆทางด้านภาพ เช่นการบันทึก VDO การ broadcast รายการต่างๆ ก็จัดและบันทึกในรูปแบบ 4:3 เรื่อยมา ถึงแม้เทคโนโลยีพัฒนาขึ้น แต่สัดส่วน 4:3 ก็ยังไม่เปลี่ยน เพื่อการ connect ที่ง่าย plug and play ไม่ต้องแปลงอะไรให้ยุ่งยากจนถึงปัจจุบัน



Getting Wide (เริ่มขยายสัดส่วน)
   หลังจากเริ่มมีการแพร่ภาพสัญญาณโทรทัศน์ครั้งแรกในปี 1939 โดยสถานี NBC จากนั้นก็ได้มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว ทั้งสื่อบันทึก ทั้งการมาของ Hollywood จากผู้ผลิตอัตราส่วน 4:3 ก็ได้มีการพัฒนาอัตราส่วนออกมาอีกมากมายเพื่อการแข่งขันทางภาพยนตร์..ปัจจุบัน สัดส่วนภาพมากมายเหล่านั้นได้หายไปเหลือไม่กี่สัดส่วนเท่านั้น แต่ยังไงก็ตาม สัดส่วน 4:3 ก็ยังคงเป็นมาตรฐานในการผลิต TV โดยทั่วไปอยู่ดี ถึงแม้ฟิล์มภาพยนตร์จะเป็น wide aspect แล้วก็ตาม

    จากข้อความข้างต้น ปัญหาจึงบังเกิด เนื่องจากบริษัทผลิตฟิล์มภาพยนตร์ที่ฉายตามโรง ใช้สัดส่วนที่กว้างกว่า 4:3 แต่การมาของสื่อต่างๆ เช่น VDO เทป ที่ต้องไปเปิดตามบ้าน ที่มี TV เป็น 4:3 นั้น เป็นต้นเหตุของปัญหา ทางบริษัทผลิตวิดีโอเทป จึงตัดปัญหาในการแปลงฟิล์มหนัง เป็นม้วนวิดีโอ โดยการ “ตัดด้านข้างออกแม่มเลย” เพื่อให้สัดส่วนออกมาได้ 4:3 พอดีกับที่ฉายบนจอ (แต่ก่อน TV ยังไม่มีระบบการ upscale หรือ down scale อะไรทั้งสิ้น มายังไง ฉายไปยังงั้น) ก็ทำกันเรื่อยมาโดยไม่มีปัญหา

    แต่ในปี 1979 บริษัทผลิตหนังเรื่อง Manhattan ไม่ยอมให้หนังของตน เผยแพร่ทีวีแบบถูกตัดด้านข้างทิ้ง เลยร่วมกันคิดค้นวิธีว่าจะทำไงดี เลยเป็นที่มาของ Letterboxing ซึ่งก็คือการย่อขนาดภาพกว้างยัดเข้าไปให้หมดในทีวี 4:3 แล้วใช้แถบดำปิดบนล่างแทน..หลายคนเริ่มคุ้นใช่ไหมครับ หลังจากหนังเรื่องนี้ ก็มีคนทำตามอีกมากมาย จนกลายเป็นที่มาของแถบดำบนล่าง เป็นต้นมา ทั้งในสื่อ DVD หรือ HDboardcast ในปัจจุบัน 


Manhattan(1979)


Display Resolution

   อ้าว แล้วถ้าเราต้องการดู wide แบบเต็มๆจอจะทำไงอ่ะ เราอุตส่าซื้อจอภาพแบบ wide screen มาแล้วนิในเมื่อเขาทำ letterbox มาในทุกๆสื่อบันทึก ก็ไม่ยาก ขอบคุณ function zoom ในเครื่องเล่น vdo หรือเครื่องฉาย ทำให้เราสามารถดูสัดส่วน 4:3 ที่ถูก letterboxing มาแล้ว แบบเต็มจอในจอภาพ wide ได้ (หากไม่เข้าใจ เดี๋ยวมีรูปประกอบ) ปัญหาของวิธีการ letterboxing คือ เราจะมี pixel ที่หายไป เนื่องจากต้องเอาไปตัดเป็นแถบดำคาดบนล่าง จากความสูง 480 เส้นในแบบ VGA จะเหลือ 320 – 360 เส้นเท่านั้น ทำให้เราใช้ pixel ไม่เต็มที่ เสียของ 

กว้างขึ้นอีกนิด

ย้อนกลับไปในยุค 1950 ยังมีคนอีกกลุ่มที่นิยม Cinemascope ได้คิดค้นอีกนวัตกรรมนึงที่ไม่ต้องใช้แถบดำให้เสีย pixel ไป โดยการคิดค้น “Anamorphic lens” ขึ้นมา โดยใช้ anamorphic lens ตัวนี้บีบภาพ wide screen ลง film หนัง 4:3 แล้วใช้ reverse anamorphic เพื่อ ขยายภาพลงบนจอ wide screen อีกที ว่ากันว่าในตอนแรก โรงภาพยนตร์ของ Hollywood ก็ไม่ใช้วิธีประหลาดๆนี้ แต่ต่อมาก็หันมาใช้กันแพร่หลาย เนื่องจาก แทบไม่ต้องเพิ่มต้นทุนอะไรเข้าไปเลย นอกจากเลนส์สองตัว ซึ่งวิธีการ anamorphic lens นี้ ก็ได้นำกลับมาใช้ในปัจจุบัน ในเครื่องโปรเจคเตอร์บางชนิด ซึ่งก็มีทั้งที่ใช้เลนส์ และใช้ digital ในการซูมและขยายภาพ หรือที่เรียกว่า lens memory นั่นเอง

การแสดงผลในกรณีแหล่งภาพต่าง Resolution กัน


นอกจากการแก้ไข หรือปรับปรุงที่เครื่องฉาย หรือการฉายแล้ว ตัวผู้ผลิต Screen เอง ก็มีการผลิตที่เน้นเรื่องสัดส่วนภาพเช่นกัน ตัวอย่างเช่น ทำ Screen สองอัน สองสัดส่วน ในกล่องเดียวกัน ถ้าเราต้องการดู 16:9 ก็ดึงอัน 16:9 ลงมา ถ้าต้องการดู 4:3 ก็ไปดึงเอาแบบ 4:3 ลงมา หรือบางเจ้าก็ทำม่านไฟฟ้า มาพร้อมในกล่อง Screen เลย มีการยกปิด ยกเปิดแถบดำเวลาฉายภาพสัดส่วนต่างๆกันไป 

Screen(จอภาพ)รูปแบบต่างๆ 


บิดาแห่ง 16:9
เคยถามคำถามไหมครับว่าสัดส่วน 16:9 ซึ่งปัจจุบันก็เป็นมาตรฐานในจอภาพแบบ HD หรือจอ Wide screen ทั่วไป สัดส่วนนี้มันมาจากไหน เรามาดูกัน..

   จากที่กล่าวไปแล้วในข้อความด้านบน ว่าสัดส่วนของภาพในปัจจุบันเหลืออยู่ไม่กี่อันที่เป็นที่ยอมรับ ซึ่งก็ได้แก่ 1.33 โดย The academy standard aspect ratio, 1.67 (The European wide screen aspect ratio), 1.85 (The American widescreen aspect ratio), 2.20(Panavision) และสุดท้าย 2.35(CinemaScope)…อ้าว แล้ว 16:9 หรือ 1.77 ของหนูหายไปไหน?? ไม่ต้องแปลกใจ คำตอบอยู่ที่ “Mr.Kerns Powers” นั่นเอง

    ประมาณปี 1980 ขณะที่เทคโนโลยีด้านภาพกำลังวุ่นวายกับสัดส่วนต่างๆดังที่กล่าวไป (คล้ายๆกับกรณีแรงดันไฟยุโรป 110 เมกา 220 หรือแม้แต่เต้าเสียบ เต้ารับ คนละโซนรูยังต่างกัน ) ทาง SMPE (ยังจำได้ไหม ถ้าไม่ได้ ก็ไปดูย่อหน้าแรกๆ) ก็ได้สุมหัวกันว่า ตูจะทำไงดีฟะ ให้ทีวีมันรับภาพได้หลากหลายโดยไม่ต้องวุ่นวายกับพวก aspect ratio เหล่านี้

    ในขณะที่กำลังประชุมกันวุ่นวาย นาย Kerns Powers ก็ได้เดินเข้ามา หยิบกระดาษไข ดินสอบ แล้ววาดรูปสี่เหลี่ยมตามสัดส่วนต่างๆลงไปในกระดาษแต่ละใบโดยใช้สัดส่วนเท่ากัน แล้วก็เอามาซ้อนทับกัน..โอ้วมายก๊อดดด สัดส่วน 16:9 ก็ ปรากฏออกมาให้เห็นอย่างไม่น่าเชื่อเลยจอร์จจจจ (ดูภาพประกอบ) ทำให้ไม่ว่าจะทำหนังสัดส่วนขนาดไหนก็ตาม ก็สามารถเอามายัดลง 16:9 ได้หมด มันเยี่ยมจริงๆ 

K.P. Ratio




ตัวอย่าง Aspect ratio ที่เป็นมาตรฐานสากล







แต่ Aspect ratio ก็ไม่มีอะไรตายตัวนะครับ 

ขึ้นอยู่กับความชอบส่วนบุคคลด้วย

ในตัวอย่างนี้คือ 3.56:1



จากตัวอย่างดังกล่าวผมจะใช้คำนวนหา Aspect ratio ที่เราต้องการแบบง่ายๆ

สำหรับนักตัดต่อและช่างภาพ Cinema 

ตัวอย่างนี้ Aspect ratio 3.56:1

ในกรณีที่เราถ่ายทำและตัดต่อที่ Full Hd 1920x1080

ความยาวของจอคือ 1920

ความสูงของจอคือ 1080

การคำนวนหา Aspect ratio คือการหาความสูงของจอใหม่

ให้เกิดสัดส่วนภาพที่ต้องการ

1920 ÷ 3.56 = 548.571428571

ปัดเศษก็จะกลายเป็น 550

เพราะฉะนั้น 1920x1080

Aspect ratio 3.56:1

ก็จะกลายเป็น 1920 x 550

หรือถ้าเป็น 2.35:1

1920 ÷ 2.35 = 817.021276596


หวังว่าคงจะเป็นประโยชน์แก่ผู่สนใจทุกท่านครับ









ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น