วันพฤหัสบดีที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2558

High-definition (HD)








รูปนี้แสดงขนาดความละเอียดของภาพ (Display resolution)

ที่แสดงผ่านจอต่างๆตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ในหน่วย Pixels (หรือเรียกว่า picture element)



พอพูดถึง Pixels แล้ว ค่าที่เกี่ยวข้องที่ใกล้เคียงกัน ก็คือค่า PPI



ตรงนี้สำหรับท่านที่งงกับหน่วย PPI, DPI, LPI และ SPI ว่ามันต่างกันอย่างไร

ผมจะอธิบายรวบรัดทีเดียวไปเลย ตามที่ผมเข้าใจนะครับ



PPI (Pixels per inch) : จำนวน Pixels ที่แสดงในความกว้าง 1 นิ้ว

ปกติงานถ่ายภาพทั่วไป รูปมักจะปรับไว้ที่ 300 PPI ครับ เพราะตอน Print ออกมาจะได้ละเอียดๆ



DPI (Dots per inch) : จำนวนจุดในความกว้าง 1 นิ้ว มักใช้กับงานพิมพ์เป็นหลัก



ยกตัวอย่าง เช่น Inkjet Printer แบบหมึก 300 DPI ก็ึคือจำนวนของหยดของหมึก-

ในความกว้าง 1 นี้ว มีทั้งหมด 300 จุดนั่นเอง..



หมายความว่า ยิ่งเลข DPI มาก ภาพยิ่งสวยยิ่งชัด..และยิ่งเปลืองหมึกครับ เหอๆๆ

(คุณนุแก้ให้แล้วนะครับ....DPI ที่มากขึ้น ไม่ได้ทำให้เปลืองหมึกขึ้น แต่จุดจะเล็กลง ทำให้ละเอียดขึ้น)

(Inkjet Printer อยู่ที่ราวๆ 300 - 600 DPI

laser printer อยู่ที่ราวๆ 600 - 1800 DPI)



LPI (Lines per inch) : จำนวนเส้นที่แสดงในความกว้าง 1 นิ้่ว ใช้กับงานพิมพ์เหมือนกัน

แต่จะนิยมใช้กับการพิมพ์แบบ halftone screen แบบพวกหนังสือพิมพ์ครับ แล้วก็จะใช้กับพวก

graphics tablet ครับ



SPI (Samples per inch) : ตัวอย่างที่แสดงในความกว้าง 1 นิ้ว ใช้กับพวก Scanner ครับ

ปกติอยู่ที่ 100 - 2400 SPI บางทีถ้า่ Scanner รุ่นสูงๆ แพงๆ ก็จะปาไป 4800 SPI หรือมากกว่านั้น



ทีนี้ เจ้าหน้า่จอเนี่ย มันก็มี Pixels เริ่มตั้งแต่ต่ำสุด

CGA (Color Graphics Adapter) ขนาดความละเอียด 320 x 200 Pixels

ไปจนถึง QSXGA(Quad Super eXtended Graphics Array) 2560×2048 Pixels




- คุณภาพระดับ High-definition

เรานับ Display resolution ตั้งแต่เท่าไหร่?



ถ้าเอาตามที่ wiki บอกนั้น... HD Display resolution ในปัจจุบัน

เริ่มนับตั้งแต่พื้นที่ขนาดรวม 1 ล้าน Pixels ขึ้นไป



แต่เอาเข้าจริงๆ ดูเหมือนจะเริ่มนับตั้งแต่ 786,432 Pixels ขึ้นไปครับ

(1024×768 = 786,432 Pixels ของโค้ด XGA (Extended Graphics Array))



แต่ถ้าระบุเป็นโทรทัศน์ความละเอียดสูง หรือ HDTV ไปเลย

จอ Plasma HDTV จะเริ่มนับตั้งแต่ 1366 × 768 Pixels

ส่วนของ LCD HDTV จะเริ่มที่ 1280×720 Pixels

ซึ่งทั้งสองตัวนี้จะมีอัตราส่วน ควา่มกว้าง : ความสูง อยู่ที่ 16 : 9

(ศัพท์ที่ใช้เรียกอัตราส่วน คือ Aspect ratio)



ซึ่งจะมีโค้ดคือ WXGA หรือที่เีีรียกว่า Wide XGA ขึ้นไป

(Wide eXtended Graphics Array)



ส่วนถ้าเป็น WXGA ของจอมอนิเตอร์ จะมีขนาด

- 1280 × 720 pixels (Aspect ratio 16:9)

- 1280 × 768 pixels (Aspect ratio15:9 (5:3))

- 1280×800 pixels (Aspect ratio 16:10)



ส่วนใหญ่ถ้าพูดถึงโค้ด WXGA ของจอ Monitor เนี่ย...

คนจะชินกับขนาด 1280×800 pixels (Aspect ratio 16:10)

พบเห็นได้ทั่วไป ใน Laptop ขนาด 14 - 15 นิ้วครับ




ก่อนจะคุยกันถึงเรื่องอัตราส่วนของภาพควรทำความเข้าใจเรื่อง Aspect ratio กันก่อนนะครับ

สำหรับผู้ที่ยังไม่รู้
คลิ๊กที่นี่ครับ




- HDTV ไม่มีอัตราส่วนแบบ 4 : 3 เหรอ?

เท่าที่ค้นข้อมูลมา ถ้าไม่ใช่อัตราส่วน 16 : 9

เขาก็ไม่นับเป็น HDTV แล้วครับ



แต่ถ้าจะนิยามกันเอง โดยเทียบกับค่า HD Display resolution เฉยๆ

ก็เอาเป็นว่า เราเริ่มนับ TV ที่เป็น High-definition

ที่มีขนาดรวมของ Display resolution ตั้งแต่ 1 ล้าน Pixels ขึ้นไป



หรือถ้าจะนิยามมาตรฐานเดียวกับจอ Monitor ของคอม

ก็เอา่ตั้งแต่โค้ด XGA(Extended Graphics Array)



ทีมีขนาด Display resolution 1024×768 = 786,432 Pixels ขึ้นไป




- Widescreen

ตาคนเรา สามารถรับภาพได้ถึง 180 องศา

Widescreen จึงสร้างมาเพื่อให้เรารับภาพได้เต็มอิ่มมากขึ้น และรับอรรถรสได้มากขึ้น



Widescreen คือ อัตราส่วนระหว่างความกว้าง :ความสูง

ที่มีค่ามากกว่าค่าของ Academy ratio = 1.37 : 1 (เอาแป๊ะๆก็ 1.375 : 1)



ค่านี้มาจากอัตราส่วนของขนาดฟิล์ม 35 mm ที่ใช้ในระบบ 4-perf pulldown

ในพวกเครื่องฉายต่างๆในยุึคนั้น (ผมเข้าใจว่า ฉายออกมาแล้วมันได้อัตราส่วนขนาดนี้พอดี)



Academy of Motion Picture Arts and Sciences

กำหนดให้ 1.37 : 1 เป็นค่ามาตรฐานอัตราส่วนของฟิล์ม ในปี ค.ศ.1932



ย้อนไปในปี ค.ศ.1892 นั้น ฟิล์ม 35 mm ยังคงใช้เป็นหนังเงียบอยู่ อัตราส่วนจึงยังเป็น 1.37 : 1


จนมาถึงปี ค.ศ.1920 ระบบ Soundtrack ได้ถูกผลิตลงในฟิล์ม ทำให้แบ่งพื้นที่บนฟิล์มไปส่วนหนึ่ง



จากที่เคยฉายภาพได้เต็มอัตราส่วน 1.37 : 1 ภาพจึงถูกบีบให้สูงขึ้น อัตราส่วนเหลือ 1.33 : 1



พื้นที่ภาพในฟิล์มที่ถูกบีบ ก็ถูกแทนด้วยพื้นที่ Soundtrack นั่นเอง








พวกทีวีต่างๆในสมัยนั้น ที่ยังไม่มีแบบ Widescreen

จึงสร้างสนองอัตราส่วน 1.33 : 1 หรือคือค่่า Aspect ratio = 4 : 3 นั่นเองครับ




- widescreen แบบ 16 : 9 มายังไง?
อัตราส่วนที่ทำให้เกิดความกว้างมากขึ้นเวลาฉาย

เริ่มในยุคฟิล์ม 35 mm ตอนแรกหนังแบบ Widescreen นั้น มีขนาด 1.66 : 1

ซึ่งเท่ากับ 8 : 5 หรือที่เราคุ้นกันแบบ 16 : 10



ส่วนเจ้า 16 : 9 มีอัตราส่วนเท่ากับ 1.78 : 1



16 : 9 นั้น หากดูเผินๆ อาจจะไม่เกี่ยวอะไรกับเจ้า 4 : 3

แต่ว่า จริงๆแล้วมันคือ 4 : 3 X 4 : 3 = 4 x 4 : 3 x 3 = 16 : 9 !!!



เนื่องจากเจ้า 16 : 9 นั้น ง่ายต่อการเอาไปแปลงเป็น 4 : 3

เพราะแค่เอา 4 หารความกว้าง กับเอา 3 หารความสูง

ก็จะได้อัตราส่วน 4 : 3 แล้ว... หมายความว่า มันจะไม่เกิด letterboxing



letterboxing คือ สิ่งที่เกิดขึ้น เวลาฉายภาพในทีวีแล้วมีขอบดำๆอยู่ในทีวี



มักจะเกิดกับหนังที่มีขนาดไม่ใช่อัตราส่วน 4 : 3 แล้วไปฉายในจอขนาด 4 : 3






ดังนั้น อัตราส่วน 16 : 9 (1.78 :1) จึงถูกใช้เป็นมาตรฐาน Widescreen ของทีวี

เพราะอัตราส่วนนี้ ทำให้ผู้ชมได้รับอรรถรสเต็มเปี่ยม

ไม่ว่าจอที่บ้านจะขนาด 16 : 9 แป๊ะๆ หรือขนาด 4 : 3 ก็ตาม



อัตราส่วน 16 : 9 นี้ จึงมีใน Format ของกล้องวิดีโอดิจิตอล

และถูกใช้ในอุตสาหกรรมภาพยนตร์



ทำให้ภาพยนตร์ในปัจจุบัน สามารถรักษาพื้นที่ของภาพไว้ได้แทบจะ 100 %

เพราะไม่จำเป็นต้องตัดพื้นที่ของภาพที่ถ่ายได้ออกไป

และไม่ต้องถูกบีบด้วย letterboxing เวลาฉายนั่นเอง




Happy ทั้งคนสร้าง Happy ทั้งคนชม



ปัจจุบัน เีราจึงเห็น TV เป็นแบบ 4 : 3 (แบบดั้งเดิม)

และ 16 : 9 (แบบ Wide ยุคดิจิตอล) ซะเป็นส่วนใหญ่ครับ



แต่ Monitor ของคอมพิวเตอร์นั้น จะมีแบบ 4 : 3 (ที่หายากขึ้นทุกวัน)

และ Widescreen แบบทั้ง 16 : 10 และ 16 : 9 ครับ




- TV ที่มีโลโก้ HD Ready หรือ Full HD.. หมายความว่าอย่างไร?

เจ้า HD Ready , Full HD คืออะไร?


HD Ready กับ Full HD นั้น เป็นคำหรือโลโก้ที่ถูกสร้างขึ้นมา

เพื่อใช้กันในเชิงพาณิชย์เป็นหลักครับ



ต้องบอกก่อนว่า High Definition (Basic) ของ TV นั้น (ของจอคอมไม่เกี่ยว)

ปัจจุบันจะมีความละเอียดของหน้าจอเริ่มต้นที่ 1366×768 Pixels (Aspect ratio 16:9) ครับ

ซึ่งค่าความละเอียดในการแสดงผลของหน้าจอทีวีนั้น เราจะใช้คำว่า Native resolution



เพราะฉะนั้น HD Ready นั้น ยี่ห้อส่วนใหญ่จะหมายถึง

ความละเอียดของหน้าจอที่ 1366×768 Pixels ขึ้นไปครับ



ถ้า Native resolution น้อยกว่านี้ เช่น LCD HDTV ขนาด 1280×720 Pixels (Aspect ratio 16:9)

อันนี้จะไม่ใช่ HD Ready ครับ แต่ยังถือว่าเป็น HDTV อยู่



ย้ำอีกครั้งว่า

จอ Plasma HDTV จะมี Native resolution ตั้งแต่ 1366 × 768 Pixels ขึ้นไป

ต่ำกว่านี้ จะไม่ถือเป็น High-definition TV แต่เป็น Plasma TV เฉยๆ



ส่วนจอ LCD HDTV จะมี Native resolution ที่ 1280×720 Pixels ขึ้นไป


ต่ำกว่านี้ จะไม่ถือเป็น High-definition TV แต่เป็น LCD TV เฉยๆ



ส่วนโค้ด HD+ หรือ HD plus ( High Definition (Plus)) คือ

หน้าจอที่ Native resolution มีขนาด 1600 x 900 Pixels ครับ



ส่วน Full HD นั้น หมายถึง หน้าจอที่มี Native resolution 1920 x 1080 Pixels ครับ

บางทีก็ใช้โค้ด HD-1080 ครับ



ถ้างงกับค่า Resulution ของโค้ด เช่น WSXGA,UXGA,2K,4K ฯลฯ



ให้คลิ๊กที่ไปดูโค้ดได้ที่นี่ได้ครับ.. จิ้ม!!




- ทำไม Full HD ต้องมี Native resolution 1920 x 1080 Pixels?
เหตุผลมาจากภาพยนตร์นั่นเองครับ ภาพยนตร์ที่ถ่ายทำกันในปัจจุบัน

เกือบทั้งหมดมี Display resolution 1920 x 1080 Pixels แป๊ะๆ!!

(มันก็ต่อเนื่องมาเรื่อยๆ ตั้งแต่เรื่องต้นกำเนิดอัตราส่วนของ Display แบบ 16 : 9 แล้วครับ)



หมายถึง resolution ตอนที่ถ่ายทำมา มีขนาด 1920 x 1080 Pixels



มาถึงมือเรา มันก็ยัง 1920 x 1080 Pixels...ไม่ได้เปลี่ยนขนาดเลยแม้แต่น้อย




- กล้องวิดีโอติจิตอล ที่ถ่ายทำได้ละเอียดมากกว่า 1920 x 1080 Pixels มีไหม?

มีอยู่แล้วครับ นั่นคืิอ 2K (2048×1080 pixels) กับ 4k (4096×2160 pixels)



ส่วนหนังที่ถ่ายทำที่ความละเอียด ขนาด 4 K เราก็ดูกันไปแล้วด้วย

นั่นคือเรื่อง Knowing กับ District 9



แต่ที่เรานั่งดูในโรงหนังที่ฉายด้วยระบบดิจิตอลนั้น

98 % ของโรงหนัง มีเครื่องฉายที่ฉายได้ขนาดความละเอียดระดับ 2 k ครับ



กล้องวิดีโอแบบดิจิตอล ณ วันนี้ สามารถเก็บความละเอียดได้สูงสุดที่ 4 K

ส่วนอนาคตกำลังจะมี 6 K... ซึ่งปัจจุบันกำลังอยู่ในการพัฒนาครับ



นอกจากนี้ Red Digital Cinema Camera Company

ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตกล้อง Red cam ที่ถ่้ายได้ถึง 4 K นั้น



ได้พูดเล่นๆไว้ว่า จะมีกล้องที่มีความสามารถเก็บข้อมูลได้ละเอียดสูงถึง 28K









อันนี้คือภาพที่เีทียบให้ดูขนาดความละเอียดของ 28 K กับ ขนาดอื่นๆ

จากมุมซ้ายบน อันที่ 3 (สีฟ้า) คือ HD-1080 ที่อยู่ในหนังที่เราชมอยู่ทุกวันนี้

และก็เป็นขนาดสูงสุด ที่หน้าจอ LCD HDTV สามารถแสดงผลออกมาได้ในปัจจุบันครับ



....



1920 x 1080 pixels ในปัจจุบัน ก็แทบจะ Zoom เห็นรูขุมขนดาราอยู่แล้ว

28 k นี่...พี่กะจะเก็บรายละเอียดซะจน Zoom ทะลุต่อมใต้รูขุมขน -


ไปดูโครโมโซมของดาราเลยใช่ไหมครับ?



อ้าว พาอ้อมไปเรื่องตลกวงการภาพยนตร์ซะงั้น... เอากลับมาเรื่อง HDTV กันต่อครับ




- อะไรคือ 720i,720p,1080i,1080p บน HDTV?

ระบบการ Scan ที่ประัมวลผลแสดงออกบนหน้าจอของเรานั้น

มีอยู่ 2 ระบบ คือ Interlaced scan กับ Progressive scan

ซึ่งก็คือ i กับ p ที่อยู่ท้ายตัวเลขนั่นเอง



สมมุติให้หนังเรื่องหนึ่ง มี Frame rate อยู่ที่ 25 FPS (Frame per sec)



สำหรับท่านที่ไม่ทราบ

Frame คือ ภาพ 1 ภาพ... ลองนึกถึงภาพยนตร์การ์ตูนที่เคลื่อนไหวดู

การจะทำให้ภาพเคลื่อนไหวได้นั้น ต้องมีภาพที่ต่อเนื่อง แล้วเราก็ดูผ่่านไปเร็วๆ

โดยปกติ 1 วินาที จะใช้ภาพประมาณ 24 ภาพ การเคลื่อนไหวจึงจะดูเป็นธรรมชาติ

ถ้ายิ่งละเอียดก็ยิ่งพริ้ว



- Interlaced scan จะ Scan ภาพ 2 ครั้ง ใน 1 Frame

ใน 1 Frame จึงแบ่งออกเป็น 2 fields (1 Frame = 2 fields)

สมมุติทีวีมี 625 เส้น Interlaced scan จะ Scan 2 ครั้ง

คือ field แีรก Scan ที่เส้นเลขคี่ 1,3,5 ไปจนครบจำนวน



แล้ว field ที่สองก็จะ Scan ที่เส้นคู่ 2,4,6 ไปจนครบจำนวน









เมื่อ Scan ครบทั้ง 2 ครั้ง ก็จะเอาค่าที่ได้มารวมกัน ได้ทั้งหมด 625 เส้น

แสดงออกมาเป็นภาพ 1 Frame ซึ่ง Interlaced scan นั้น ทำให้ภาพที่แสดงออกมา

มีรอยหยักหรือภาพกระพริบ....แต่มันเกิดขึ้นเร็วมาก จนเรามองแทบไม่ทันถ้าไม่นั่งสังเกตดีๆครับ



นั่นหมายความว่า สัญญาณจากหนังที่มี Frame rate 25 FPS นั้น

พอมาเจอ TV แบบ Interlaced scan ที่มี Refresh rate อยู่ที่ 50 Hz

ก็ได้ค่าเป็น 50 fields per sec = 25 Frame per sec (FPS)



อะ อย่าเพิ่งงงเรื่อง Frame rate กับ Refresh rate นะ..จะอธิบายเดี๋ยวนี้แหละครับ



Frame rate นี่จะเป็นค่าที่มาจากสัญญาณที่มุ่งไปสู่ตัวรับที่จะแสดงผลที่หน้าจอ

ซึ่งตัวรับ(หรือจอ)ก็จะกระพริบปริบๆๆๆ หรือที่เราเรียกว่า Refresh rate นั่นแหละครับ


ปกติ ทีวีบ้านเราจะกระพริบเร็วถึง 50 ครั้งต่อวินาที นั่นก็คือ 50 Hz นั่นเองครับ



คนส่ง ส่งได้ 25 รูป ต่อ 1 วินาที(25 fps) แต่ว่าคนรับ รับได้ถึง 50 ครั้งต่อ 1 วินาที (50 Hz)

แต่เผอิญว่า คนรับ รับได้แค่ครั้งละครึ่งรูป(ได้ทีละ field).. พอมองจากผู้ชม จึงเห็นไอ่คนรับเนี่ย

แสดงภาพออกมาได้แค่ 25 รูปต่อ 1 วินาทีนั่นเองครับ (25 fps)



- Progressive scan จะ Scan ภาพครั้งเดียว โดย 1 field จะกลายเป็น 1 Frame ไปเลย

ไล่ตามลำดับไปเลยตั้งแต่ 1 - 625 เส้นทีเดียว ทำให้ได้ภาพที่ชัดและเรียบเนียนกว่าครับ

นั่นหมายความว่า Progressive scan ที่มี Refresh rate อยู่ที่ 50 Hz (50 ครั้งต่อวินาที)
พอแสดงภาพทางหน้าจอ จึงได้ค่าเป็น 50 Frame per sec (FPS) ไปเลย








อะ ยังมีท่านใดงงอยู่ไหมนะ??..



เผื่อฟังตามไม่ทัน เพราะผมเป็นคนพูดเร็ว

งั้นผมจะยกตัวอย่าง ไปเทียบกับสิ่งของละกันครับ

เอาเป็นถุงเท้าละกัน...มีถุงเท้าอยู่จำนวนหนึ่ง...ซึ่งถุงเท้า 1 คู่ จะมี 2 ข้าง (1 Frame = 2 Field)




น้องไอกับน้องพี มีความไวในการเก็บเท่าๆกัน คือ เก็บได้ 50 ครั้งต่อวินาที ( Refresh rate 50 Hz)

แต่เผอิญน้องไอ (Interlaced) มีอาการทางจิต ชอบเก็บถุงเท้าทีละ 1 ข้าง

ส่วนน้องพี (Progressive) ก็โกยเอาโกยเอา แต่เต็มที่ก็โกยได้ถุงเท้าทีละ 1 คู่



พอผ่านไป 1 วินาที น้องไอก็เก็บถุงเท้าได้ 50 ข้าง = 25 คู่ (ได้ผลแสดงออกมาที่ 25 fps)


ส่วนน้องพี เก็บถุงเท้าได้ 50 คู่ = 50 คู่( ได้ผลแสดงออกมาที่ 50 fps)



โอเค้???



สรุปก็คือ i จะไม่ชัด ไม่เรียบเนียนเท่า p นั่นเอง( p จึงแพงกว่า i)



ส่วนเลขข้างหน้าคือเลขที่บอกความละเอียดของ Video format ที่ TV รองรับได้สูงสุดนั่นเองครับ




720i = รองรับ Video format ขนาด 1280×720 pixels โดยใช้ระบบ Interlaced scan

720p = รองรับ Video format ขนาด 1280×720 pixels โดยใช้ระบบ Progressive scan

1080i = รองรับ Video format ขนาด 1920x1080 pixels โดยใช้ระบบ Interlaced scan

1080p = รองรับ Video format ขนาด 1920x1080 pixels โดยใช้ระบบ Progressive scan



ส่วน Native resolution ของ TV จะเป็นค่าเดียวกันหรืออีกค่า(ซึ่งต่ำกว่า)

ไม่เกี่ยวกับเลขข้างหน้า i หน้า p พวกนี้ครับ



เช่น HD ready 1080p บอกเพียงแค่ว่า ตัวทีวีรองรับ Video format

ขนาด 1920x1080 pixels ได้ โดยใช้ระบบ Progressive scan



โดยที่ตัวทีวีตัวนี้ อาจจะมี Native resolution เพียง 1366×768 Pixels ก็ได้

(แต่ก็เคยได้ยินเหมือนกันว่ามี HD ready 1080p บางรุ่นที่ออกมาก่อนที่จะมี Full HD แล้วเผอิญมี-

Native resolution = 1920x1080 pixels.. พูดง่ายๆก็คือ ตัวมันเองก็คือ Full HD นั่นแหละ

คนที่ซื้อมา บอกว่าสเป็คเหมือนกันเด๊ะ แค่คำว่า HD Ready ทำให้ราคาถูกว่า Full HD ตั้งครึ่ง)




- ทำไมดู HDTV ที่ห้างมันชัดจัง แต่ทำไมดู HDTV ที่บ้านไม่เห็นชัด?

ที่ห้าง ส่วนใหญ่เขาเอาแผ่น Blu-ray ฉายครับ



บ้านเรา DVD Video มีขนาด Resolution ไม่เกิน 720 × 576 pixels

นอกจากนี้ สัญญาณฟรีทีวีในบ้านเรา ยังเป็นระบบ Pal (Phase Alternate Line)

ซึ่งมีความละเอียดของภาพ 720 × 576 pixels ขนาดเดียวกันกับ Video DVD



ส่วนเจ้า Blu-ray นั้น มันโชว์ซะเต็มสูบ ครบ 1920x1080 pixels



ปกติ ถ้าเราถ่ายรูปจากกล้อง Digital แล้วพอเอาภาพไปขยายมาก ๆ มันจะแตกใช่ไหมครับ?

ก็หลักการเดียวกันครับ



ทีวีที่มี Native resolution 1920 x 1080 pixels

รับ Video format ของ Blu-ray ขนาด resolution 1920 x 1080 pixels

ภาพมันก็พอดีกันทุก Pixels : Pixels แบบ 1 : 1



แต่ถ้าเปลี่ยนมาเป็น Video format ของ DVD Video

ขนาด resolution 720 × 576 pixels มันก็จะกลายเป็น...



(1920x1080)/(720x576) = 5



จะเห็นว่า ภาพมันขยายจาก resolution เดิมตั้ง 4 เท่า (5 - 1)

หรือคิดเป็น 500 %... ถ้าชัดนี่ ทีวีคงมีปัญหาแล้วล่ะครับ



นอกจากนี้ ยังมีเรื่องทางเืทคนิคอย่างอื่นอีก

(ท่านใดไม่สนใจเรื่องทางเทคนิค ก็ข้ามตรงนี้ไปอ่านหัวข้อต่อไปได้เลยครับ)



อย่างเครื่องเล่น DVD ทั่วไป

(หัวอ่านเลเซอร์สีแดง มีความยาวของคลื่น 650 nm)

อ่านแผ่น DVD ที่ Video Bitrate เฉลี่ยราว 4 - 5 Mbit/s(Mbps)

(Bit rate สูงสุดที่แผ่น DVD รองรับ คือ 11.08 Mbit/s)



ในขณะที่เครื่องเล่น Blu-ray(หัวอ่านเลเซอร์สีน้ำเงิน มีความยาวคลื่น 405 nm )

อ่านแผ่น Blu-ray ที่ Video Bitrate เฉลี่ย 20 - 30 Mbit/s สูงสุดถึง 40 Mbit/s

(Bit rate สูงสุดที่แผ่น Blu-ray รองรับ คือ 54 Mbit/s)



อธิบายง่ายๆ ก็คือ หัวอ่านเลเซอร์สีน้ำเงินของ Blu-ray จะกระพริบถี่กว่าหัวอ่านเลเซอร์สีแดง

ทำให้ส่งถ่ายข้อมูลได้มากกว่า ในระยะเวลาที่เท่ากัน...



เหมือนเวลาเราถ่ายรูป ถ้าเราตั้งกล้องให้มันถ่ายรูปทุก 5 นาที พอผ่านไป 1 ชั่วโมงก็ได้ 12 รูป

แต่ถ้าเปลี่ยนมาตั้งกล้องให้ถ่ายรูปทุก 3 นาที ก็จะถ่ายได้ 20 รูป



ปริมาณข้อมูลที่ได้จึงมากกว่าครับ...

ส่งถ่ายข้อมูลได้มากกว่า ภาพจึงละเอียดกว่าครับ





เอ่อ... เริ่มเมาข้อมูลกันรึยังครับ??




- HDTV ที่บอก 24 Hz, 50Hz, 60 Hz, 100 Hz, 120Hz, 200Hz ฯลฯ

ความถี่เหล่านี้คืออะไร?


ในระบบ Pal ของทีวีบ้านเรานั้น(Pal ตัวนี้ไม่ได้เกี่ยวอะไรกับปลาหมึก) มี Frame rate ที่ 25 FPS

นั่นคือ ส่งมา 25 ภาพใน 1 วินาที.... ในทีวีระบบ interlaced scan -

จึงต้องมี Refresh rate ขึ้นต่ำที่ 50 Hz เพราะจะได้เก็บให้ครบ 50 fields ต่อวินาที



ความถี่ของทีวีในระบบ Pal จึงต้องมีความถี่อย่างต่ำ 50 Hz ครับ


ทีนี้ หากเป็นทีวีของต่างชาติ บางประเทศจะใช้ระบบ NTSC

ซึ่งมี Frame rate ที่ 30 FPS หรือเท่ากับ 60 fields ต่อวินาทีในแบบ interlaced scan

ความถี่จึงต้องมีอย่างต่ำ 60 Hz



ความถี่ 100 Hz, 120Hz, 200Hz , 240Hz หรือมากกว่านี้

ถูกสร้างมาเพื่อเทคโนโลยีการฉายเฟรมซ้ำๆกัน(frame repetition)

และการสังเคราะห์เฟรม(frame interpolation)



เช่น ปกติความถี่ 50 Hz แบบ interlaced scan สามารถแสดงผลได้ 25 FPS

พอเจอ TV ความถี่ 100 Hz จึงสามารถแสดงผลได้ 50 FPS

แล้วถ้าเป็น 200 Hz ก็จะมี frame rate ที่แสดงให้เราชมถึง 100 FPS



เฟรมที่เพิ่มขึ้นมา มาจากการสังเคราะห์เฟรมขึ้นมาใหม่ โดยวิเคราะห์จากเฟรมต้นฉบับ

ส่งผลให้ภาพดูคมชัดขึ้น ไหลลื่นขึ้น...ข้างล่างนี่คือภาพอธิบายถึงเฟรมที่ถูกสร้างขึ้นมาแทรก



ซึ่งมีในจอ LCD นะครับ.. จอประเภทอื่นรู้สึกว่าจะไม่เหมือนกันซะทีเดียว









เฟรมสีดำ คือ เฟรมต้นฉบับ

เฟรมสีเทา คือ เฟรมที่ถูกสังเคราะห์ขึ้นมาครับ



ส่วนข้อมูลเชิงเทคนิคอื่นๆ จะขอไม่กล่าวถึงละกันครับ



24 Hz


คือความถี่ของภาพยนตร์ High-definition ในปัจจุบัน

มี Frame rate อยู่ที่ 24 FPS



ถ้า TV ไม่มีระบบ 24 Hz ...มาฉายหนังพวกนี้ จะมีโอกาสเกิดปัญหาภาพกระตุกได้

แต่ว่าโชคดีที่ประเทศเรา ใช้ระบบ Pal ที่มี Frame rate อยู่ที่ 25 FPS อยู่แล้ว

ส่วนต่างเพียงแค่ 1 Frame ทำให้เครื่องเล่นแผ่นหนัง สามารถเร่งความเร็วในการส่งข้อมูลได้

เพื่อให้ได้ Frame rate ที่ 25 FPS ตรงกับระบบ Pal ที่มีในบ้านเรา



จาก 24 FPS ก็กลายเป็น 25 FPS



แต่ว่ามันทำให้หนังจบเร็วขึ้นจากเวลาปกติประมาณ 4.17%

อย่างเ่ช่น ถ้าหนังที่ฉายในโรงมีความยาว 120 นาที เมื่อมาใช้ในระบบ PAL แล้ว

จะมีความยาวเหลือประมาณ 115 นาทีนั่นเอง



ปัจจุบันนี้ HDTV แทบทั้งหมดรองรับระบบทั้งของ 50 Hz และ 60 Hz แล้ว

แต่ยังไงก็อย่าลืมเช็คข้อมูลเพื่อความแน่ใจก่อนจะซื้อนะครับ




- ค่า Contrast Ratio คืออะไร?

อันนี้พูดในเรื่องทางเทคนิคนะครับ

ค่านี้ไม่ใช่ Contrast ตัวเดียวกับที่ใช้เวลาปรับหน้าจอ



Contrast Ratio อธิบายง่ายๆ ก็คือ ค่าที่แสดงอัตราส่วนที่จอสามารถแสดงออกมาได้

ระหว่างจุดที่สว่างที่สุด(สีขาว) ต่อจุดที่มืดที่สุด(สีดำ) เช่น 500:1, 2000:1, 5000:1 ฯลฯ



ยิ่งค่าต่่างกันมาก ภาพจะยิ่งคมชัด... อัตราส่วนที่มากเพียงพอ สีดำจะดำำสนิท

ส่วนอัตราส่วนที่่ไม่ต่างกันมาก สีดำจะดำออกเทาๆครับ



ค่า Contrast Ratio ของแต่ละยี่ห้อ ไม่สามารถเทียบกันได้

เพราะการวัดค่า Contrast Ratio นั้น มีหลายระบบ หลายแบบ แล้วแต่โรงงานผลิต

แต่ที่เป็นที่นิยมที่ใช้ในการคำนวณหาค่า Contrast Ratio ก็คือ

1. "full on/full off" method

2. การคำนวณหาค่าของ ANIS (American National Standards Institute)

3. การคำนวณหาค่าของ VESA (Video Electronics Standards Association)

4. การคำนวณหาค่าของ JEITIA (Japan Electronics and Information Technology Industries Association)



ผมเข้าใจว่า จะวัดโดยวิธีการใดก็แล้วแต่ เกือบทั้งหมดทุกบริษัท

เขาจะคำนวณจาก "แสง" ที่จอแสดงออกมา เป็นตัวตั้งในการหาค่า Contrast Ratio



ทาง VESA เคยเสนอให้ใช้ค่า Contrast Ratio สูงสุดที่ 7000 : 1

เพราะดูจะเป็นตัวเลขความแตกต่างที่สูงสุดเท่าที่เป็นไปได้

แต่ทาง Sony ดันบอกว่า เขาวัดได้มากกว่านั้น ซึ่งค่าที่ได้มันดูเวอร์ไปจากที่ VESA เสนอ

ไปถึงเกือบ 1300 เท่า (ได้อัตราส่วนต่างกันเป็นล้าน )



ส่วน Dynamic Contrast Ratio หรือ Dynamic contrast (DC)

ถูกใช้ในระบบจอ LCD... โดยส่วนตัวเข้าใจว่า มันคือผีตัวเดียวกับ Contrast Ratio

ไม่รู้ว่าจะเปลี่ยนศัพท์เพิ่มศัพท์มาทำไม สงสัยอยากทำให้ชาวบ้านงงเล่น (หรือมีัผลทางการตลาด)



ส่วนตัวที่พิเศษอีกตัว คือ Contrast Ratio ซึ่งมาจากการวัีดของ ANIS

เพราะค่า Contrast Ratio ตัวนี้ จะมาจากค่า Static Contrast Ratio

หรือบางทีเรียกว่า ANIS Contrast



ซึ่งถ้าผมแปลไม่ผิด มันจะหมายถึง..

ค่าความคงที่ของ "สัญญาณ" ที่แสดงอัตราส่วนระหว่างจุดที่สว่างที่สุด(สีขาว)

ต่อจุดที่มืดที่สุด(สีดำ)..ซึ่งค่าที่ได้จากระบบนี้ จะมีค่าน้อยถ้าเทียบกับของระบบอื่นที่วัดจาก "แสง"



Contrast Ratio ซึ่งมาจากการวัีดของ ANIS ของบางยี่ห้อ อาจจะสูงสุดแค่ 1000 : 1



เอาเป็นว่า เจ้าค่าพวกนี้มันมีหลายมาตรฐานเกิน ปัจจุบันเจอไม่เป็นตัวเลขไปแล้วก็มีครับ

เช่น Ultra, High ฯลฯ



สุดท้ายก็ต้องใช้ตาเราดูเหมือนเดิม...



ถ้าจะซื้อก็เลือกที่ชอบที่ชอบไปละกันครับ




- จอแบบ Full HD TV นี่ ถ้าจะฉายหนังที่ละเอียดขนาด 1920x1080 pixels

ในอัตราส่วน 1 pixels = 1 sq.mm จอต้องมีขนาดเท่าไหร่?



ถ้าความละเอียด 1920x1080 pixels

จะเอาขึ้นจอที่อัตราส่วน 1 pixel = 1 sq.mm (ตารางมิลลิเมตร)

ก็ต้องการจอขนาด 192 x 108 cm = 1.92 x 1.08 m



นั่นคือกว้างเกือบสองเมตร ยาวเมตรนิดๆ



เขาเรียก TV ขนาดกี่นิ้วล่ะนั่น??



ผมก็สงสัยอดสงสัยไม่ได้เหมือนกัน

ก็เลยลองคำนวณเล่นๆมาเรียบร้อยแล้วครับ



ถ้าอยากได้ใหญ่สะใจขนาดนั้น มันคือจอขนาด 88 นิ้วครับ

ใหญ่กว่าจอ 40 นิ้ว 4 เครื่อง วางแบบ 2 X 2 รวมกันซะอีก

(จอ Full HD 40 นิ้ว ฉายหนัง 1920x1080 pixels จะได้อัตราส่วน pixels : mm บนจอ อยู่ที่ราวๆ 2.2 : 1 ครับ

นั่นคือ 1 sq.mm ฉายได้ราวๆ 4.84 - 4.85 pixels ครับ )



ส่วนจอ LCD ที่ใหญ่ที่สุด ที่ผมหาข้อมูลได้ในปัจจุบัน อยู่ที่ 108 นิ้วครับ



ก็จะตก 1 Pixels อยู่ที่ราวๆ 1.48 - 1.5 sq.mm ครับ



- Super Hi-Vision

ว่า High-definition TV เจ๋งแล้ว อนาคตในประมาณปี 2016 - 2020

เราจะมี Super Hi-Vision เข้ามาอีก หรือที่เรียกว่า 4320p(7680x4320 pixels)(aspect ratio 16 : 9)

, 8K, Ultra High Definition Television (UHDTV) แล้วก็ต้องมีวิดีโอคือ

Ultra High Definition Video (UHDV)



แต่ว่า อยู่ๆจะกระโดดจาก Full HD ไปเป็น UHD มันก็คงไม่ก้าวกระโดดข้ามไปขนาดนั้น


เพราะยังมีตัวที่อยู่ตรงกลางอีกตัว นั่นคือ QFHD (Quad Full High Definition)

หรือที่เรียกว่า Quad HD (3840 x 2160 pixels)(aspect ratio 16 : 9)



เจ้า Quad HD จะมีความละเอียดเป็น 4 เท่าของ Full HD..



แล้วถ้า Super Hi-Vision นี่ก็... ละเอียดกว่า Quad HD อีก 4 เท่าครับ



นั่นหมายความว่า ถ้าดูหนังในระดับ Super Hi-Vision แล้วฉายกับจอ Full HD



แบบพร้อมกันรวนเดียว 16 จอ(4x4)...ภาพก็ยังชัดแจ๋ว รูขุมขนก็ยังชัดหมือนเดิม



คิดว่าเรื่องของจอภาพ High-definition ที่เขียนรวบรวมไว้ในหน้านี้



ถ้าอ่านตั้งแต่ต้นจนถึงตรงนี้ คิดว่าน่าจะได้รับข้อมูลมากพอในการเลือกซื้อเลือกดูแล้วนะครับ







High-definition ของ "เสียง"

คิดว่าในความเป็นจริงมันไม่ได้มีผลอะไรชัดเจนเหมือนกับภาพเท่าไหร่ครับ

คือ ถ้าพูดถึงภาพที่ละเอียดขึ้น ใหญ่ขึ้น ชัดขึ้น อันนี้เราเข้าใจ



ตาคนเรา รับภาพได้ 25 fps ถ้าเร็วกว่านั้นก็จะทำให้ดูไหลลื่นขึ้น

เป็นธรรมชาติมากขึ้น...อันนี้ก็เข้าใจได้



เท่าที่หาข้อมูลมา...



CD ปกติ - 16 Bit ให้เสียงดังได้ถึง 96 dB(SPL) (Sound pressure level)

ดังเกือบพอๆ กับเวลาที่เรายืนอยู่ห่างจากช่างทำถนน ตอนที่เขากำลังใช้เครื่องเจาะถนนอยู่

โดยที่เรายืนห่างจากเครื่องเพียงแค่ระยะ 1 เมตร โดยไม่ได้อุดหู...



ส่วนเจ้า HD Audio 24 - Bit นี่ ให้เสียงดังได้มากถึง 144 dB(SPL)....



ดังเกือบๆจะเท่าเครื่องยนต์ของเครื่องบิน Jet... ตอนที่เรายืนอยู่ห่างจากเครื่องยนต์แค่ 30 เมตร




ถ้าฟังลำโพงตอนที่เปิดเสียงดังสุดขนาดนั้น เลือดได้กระฉอกออกหูกันพอดีครับ



ส่วนช่วงความถี่ที่หูมนุษย์รับได้ จะอยู่ในช่วง 20 Hz - 20 kHz

CD ปกติ Sampling 44.1kHz สามารถสร้างเสียงได้ในช่วง 10 Hz - 22.05 kHz

ซึ่งคนปกติในวัยหนุ่มสาว จะได้ยินไม่เกิน 15 kHz อย่างเก่งก็สูงสุดที่ 17 - 18 kHz



เพราะฉะนั้น ก็ไม่รู้ว่าเจ้า HD Audio 32-bit Sampling 192-kHz นี่ มันดีกว่ายังไง?

16 - bit ยังทำหูแทบพังได้ถ้าเปิดดังสุด... แล้วจะเอา 32-bit มาเพื่ออะไร?



Edit : อ้างอิงจากคุณนุ #2..

Bit ที่มากขึ้น จะสามารถแสดงรูปแบบเสียงที่แตกต่างกันได้หลายรู้แบบมากขึ้นครับ

(เรื่องทางเทคนิคจ๋าของเสียงนี่ ผมไม่แน่นน่ะครับ )



Sampling ที่ 44.1kHz ก็ครอบคลุมช่วงความถี่ที่มนุษย์ได้ยินไปหมดแล้ว

Sampling 192-kHz คงให้ช่วงความถี่เสียงได้มากกว่านี้หลายเท่าตัว...

แต่มนุษย์ปกติคงไม่ได้ยิน ที่ได้ยินคงเป็นปลาวาฬ ค้างคาว หมูหมากาไก่มากกว่าครับ



ซึ่งเรื่องทางเสียงส่วนมากที่ผมค้นเจอ ก็ยังไม่รู้ว่่าจะเอา HD Audio มาเพื่ออะไีร?

ยังไงก็หาคำตอบกันต่อไปละกันครับ (ส่วนใหญ่ให้ความเห็นว่าเป็นเรื่องของการค้า)



เอาละ.. จบซักที..



ว่าแล้ว...







เรามาตั้งมาตรฐาน High-definition Blogger กันดีไหมครับ?



มี Refresh rate (ความถี่ในการอัฟบล็อก) กี่ Hz? ส่งข้ิอมูลลงบล็อกได้กี่ word/hour?

resolution ของเอ็นทรี่มีแค่ไหน? ต้องมีโค้ดสำหรับบล็อกเกอร์เฉพาะขึ้นมารึเปล่า๋๋?

เช่น VGB, GB+, GB, DSTB, DLTB, SDLTB, UDLTB(1Y), SUDLTB(2Y), DGLB(4Y)





...อะไรทำนองนั้นครับ




เผื่อท่านใดอย่ากรู้โค้ด..

VGB = Very Good Blogger

GB+ =Good Blogger Plus

GB =Good Blogger

DSTB = Dong Short Time Blogger

DLTB = Dong Long Time Blogger

SDLTB = Super Dong Long Time Blogger

UDLTB(1Y) = Ultra Dong Long Time Blogger(1 Year)

SUDLTB(2Y) = Super Ultra Dong Long Time Blogger(2 Years)

DGLB(4Y) = Dong God Like Blogger(4 Years)




ข้อมูลอ้างอิง :

http://en.wikipedia.org/wiki/High-definition_television

hhttp://en.wikipedia.org/wiki/Image_resolution

http://en.wikipedia.org/wiki/Display_resolution

http://en.wikipedia.org/wiki/Widescreen

http://en.wikipedia.org/wiki/HDV

http://en.wikipedia.org/wiki/HD_ready

http://en.wikipedia.org/wiki/File:Vector_Video_Standards2.svg

http://en.wikipedia.org/wiki/Full_HD

http://www.squidoo.com/Full_HD_Ready_HDTV

http://www.geekzone.co.nz/forums.asp?forumid=83&topicid=25545

http://www.sony.co.uk/article/id/1207064684056

http://en.wikipedia.org/wiki/Progressive_scan

http://en.wikipedia.org/wiki/Interlace

http://en.wikipedia.org/wiki/PAL

http://en.wikipedia.org/wiki/Bit_rate

http://en.wikipedia.org/wiki/Academy_frame

http://en.wikipedia.org/wiki/35_mm_film

http://en.wikipedia.org/wiki/Negative_pulldown

http://en.wikipedia.org/wiki/4K_resolution

http://en.wikipedia.org/wiki/Digital_cinematography

http://en.wikipedia.org/wiki/Red_Digital_Cinema_Camera_Company

http://en.wikipedia.org/wiki/Digital_cinema

http://en.wikipedia.org/wiki/High-definition_video

http://en.wikipedia.org/wiki/Computer_display_standard

http://en.wikipedia.org/wiki/DVD-Video

http://en.wikipedia.org/wiki/Blu-ray_Disc

http://www.blu-ray.com/faq/

http://forum.blu-ray.com/blu-ray-technology-news/52702-anyone-know-average-video-bit
-rate-blu-ray-movie.html


http://en.wikipedia.org/wiki/Aspect_ratio_%28image%29

http://en.wikipedia.org/wiki/Letterbox

http://en.wikipedia.org/wiki/Contrast_ratio

http://gizmodo.com/259495/contrast-ratio-shoot+out-everyone-loses

http://www.gizmag.com/go/6704/

http://en.wikipedia.org/wiki/Ultra_High_Definition_Video

http://www.lcdtvthailand.com/article/detail.asp?param_id=50

http://www.lcdtvthailand.com/article/detail.asp?param_id=1

http://www.onkyo.co.th/index.php?mo=3&art=397591

http://www.onkyo.co.th/index.php?mo=3&art=400053

http://forums.overclockzone.com/forums/showthread.php?t=338451

http://www.createsoundmaker.com/webboard/index.php?topic=283.0

http://en.wikipedia.org/wiki/Intel_High_Definition_Audio

http://en.wikipedia.org/wiki/Decibel

http://en.wikipedia.org/wiki/Sound_pressure_level



http://en.wikipedia.org/wiki/Hi_fi




Credit : http://clockrun.exteen.com








วันศุกร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2557

วีดีโอแบบ 4k คืออะไร

มาตรฐานวีดีโอแบบ 4k คืออะไรสำหรับเทคโนโลยี 4K ทาง Consumer Electronics Association หรือ CEA ได้สรุปออกมาแล้วว่าให้ทุกค่ายทีวีใช้คำว่า Ultra High Definition (Ultra HD หรือ UHD) ในการเรียกความละเอียดแบบนี้ ซึ่งแบรนด์ทีวี, จอฉาย, หรือเครื่องเล่น จะต้องทำการเรียกและประชาสัมพันธ์สินค้าด้วยคำว่า Ultra High Definition แทนคำว่า 4K 4K หรือ Ultra High Definition คือมาตรฐานใหม่ของความละเอียดของ "จอภาพ" และ "คอนเทนต์" โดย K ย่อมาจาก Kilo ซึ่งเท่ากับ 1000 ดังนี้ 4K ก็หมายถึง 4000 นั่นเอง สำหรับความละเอียดหน้าจอสำหรับทีวี 4K แบบ Widescreen หมายถึงมีความละเอียด 3840 x 2160 พิกเซล ผลรวมออกมาก็ได้ประมาณ 8.29 ล้านพิกเซล ทั้งนี้ความละเอียดในแนวนอนเท่ากับ 3840 เพื่อให้ง่ายต่อการเรียกจึงมีการปัดเศษขึ้นให้เป็น 4000 จึงเป็นที่มาของคำว่า 4K นั่นเอง ! ในทางกลับกันทีวี Full HD ซึ่งเป็นมาตรฐานในตอนนี้มีความละเอียด 1920 x 1080 พิกเซล ซึ่งผลรวมออกมาได้ประมาณ 2.07 ล้านพิกเซล จะเห็นได้ว่าความละเอียดหน้าจอของทีวี 4K มากกว่าทีวีแบบ Full HD ถึง 4 เท่า โดยเจ้าความละเอียด 4K นั้นกำลังจะเข้ามาเป็นมาตรฐานใหม่ในอุตสาหกรรมภาพยนตร์และโทรทัศน์ ทั้งการถ่ายทำด้วยกล้องความละเอียด 4K และจอฉายแบบ 4K และตลอดจนสินค้าทีวีและโฮมเอ็นเตอร์เทนเมนท์ สำหรับมาตรฐาน 4k ที่นำมาใส่ในจอทีวีรุ่นใหม่ๆนั้น จะเป็นแบบ Quad Full High Definition ตัวย่อ QFHD ความละเอียดที่ 3840x2160 มีขนาดเป็น 4 เท่า ของไฟล์แบบ Full HD 1080

ประโยชน์ของภาพ 4K ในเชิงคุณภาพของภาพ ยิ่งเม็ดพิกเซลเยอะ ก็จะส่งผลให้ขนาดเม็ดพิกเซลมีความเล็กและเรียงตัวกันถี่มากยิ่งขึ้น "รอยหยักตามขอบภาพแบบขั้นบันได" (Jaggies) ก็จะน้อยลง รวมถึงพื้นที่ "รอยต่อระหว่างพิกเซล" (Screen Door Effect) ก็จะแคบลงทำให้ภาพแลดูเรียบเนียนมากยิ่งขึ้น มาตรฐานวงการทีวีไฮเดฟฟินิทชั่นแบบไวด์สกรีน HD = 1366 x 768 Full HD = 1920 x 1080 Ultra HD (4K) = 3840 x 2160 ในอนาคตอันใกล้ มาตรฐานความละเอียดของจอภาพและคอนเทนต์ก็จะสูงขึ้นอีก โดยคาดการณ์ว่าจะกลายเป็น 8K Ultra High Definition หรือ 7680 x 4320 ในที่สุด


วันพฤหัสบดีที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2557

Aspect ratio คืออะไร?


บทนำ
   ก่อนอื่น ก็ต้องรู้จักก่อนว่า Aspect ratio คืออะไร Aspect ratio ก็คืออัตราส่วนของด้านกว้างต่อด้านสูงของจอภาพ นั่นเอง อย่าง TV จอตู้ทั่วไป(ที่ไม่ใช่พวก TV จอบางๆ)จะมี Aspect ratio ที่ 4:3 (อ่านว่า สี่ต่อสาม )ซึ่งหมายถึงมีด้านกว้างของจอ(แนวนอน) 4 หน่วย และมีด้านสูงของจอ(แนวตั้ง) 3 หน่วย อย่างไรก็ตาม เหล่านักวิชาการด้านภาพทั้งหลาย ก็พยายามที่จะลดตัวเลขลงให้เข้าใจง่ายๆเป็น 1.33:1 หรือ 1.33 เฉยๆ (ซึ่งก็คือ เอา 4 หาร 3 นั่นเอง) เนื่องจากหากจอภาพขนาดใหญ่มากๆ หลายๆเมตร ถ้าเราใช้ 4:3 จะนึกภาพไม่ออก หรือคำนวนขนาดลำบาก ก็เลยเรียกกันง่ายๆว่า 1.33 จะคำนวนออกมาง่ายกว่า

ประวัติศาสตร์ของ Cinema aspect Ratios

    ทีนี้เจ้าหน่วย 4:3 มีที่มาอย่างไร..ก็มีเรื่องเล่ากันว่า ในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 Thomas Edison และผู้ช่วยของเขา Willium L.K Dickson (โทมัส อัลวา เอดิสัน คนเดียวกันกับที่คิดค้นหลอดไฟนั่นแหล่ะ และเขายังเป็นผู้คิดค้นเครื่องถ่ายและฉายภาพ เครื่องตัดต่อแผ่นฟิล์ม จนนำไปสู่การสร้างภาพยนตร์ด้วยนะ;ที่มา วิกิพีเดีย) กำลังง่วนอยู้กับ film 70mm. ที่คิดค้นขึ้นมาใหม่โดยร่วมกับ George Eastman (ผู้คิดค้น และเป็นเจ้าของ film KODAK) 
    นายเอดิสันบอกว่า ฟิล์ม 70 mm. มันใหญ่เกินไป เวลาเก็บลำบากมาก และเปลืองพื้นที่ เปลืองเงิน เลยบอกให้นายดิกสัน และจอร์จ เอาไปตัดออกครึ่งนึง ดิกสันก็ถามว่า จะให้ตัดเท่าไหร่ โทมัสเลยเอานิ้วไปทาบกับฟิล์ม 70mm นั้นแล้วลากเส้น ปรากฏว่าเส้นนั้นคืออัตรส่วน 4:3 นั่นเอง (ภายหลังนักวิชาการบางคนก็ว่า เอดิสันใช้ “สัดส่วนทองคำ” หรือ “Golden Section” ประมาณ 1.6:1 ) ต่อมาเมื่อเอดิสันมีชื่อทางด้านฟิล์มภาพยนต์ ในปี 1917 ทาง Society of Motion Picture Engineers (SMPE) จึงได้วางมาตรฐานสากล ให้ฟิล์มภาพยนตร์(สมัยนั้น)ใช้อัตราส่วน 4:3 ยาวนานถึง 35 ปี


เอดิสัน

   ต่อมาก็เริ่มมีการผลิตโทรภาพ หรือโทรทัศน์ขึ้นมาในปี 1930 ก็ได้มีการใช้สัดส่วน 4 : 3 นี้ในการสร้างจอภาพเช่นเดียวกับภาพยนตร์ รวมทั้ง soft ware ต่างๆทางด้านภาพ เช่นการบันทึก VDO การ broadcast รายการต่างๆ ก็จัดและบันทึกในรูปแบบ 4:3 เรื่อยมา ถึงแม้เทคโนโลยีพัฒนาขึ้น แต่สัดส่วน 4:3 ก็ยังไม่เปลี่ยน เพื่อการ connect ที่ง่าย plug and play ไม่ต้องแปลงอะไรให้ยุ่งยากจนถึงปัจจุบัน



Getting Wide (เริ่มขยายสัดส่วน)
   หลังจากเริ่มมีการแพร่ภาพสัญญาณโทรทัศน์ครั้งแรกในปี 1939 โดยสถานี NBC จากนั้นก็ได้มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว ทั้งสื่อบันทึก ทั้งการมาของ Hollywood จากผู้ผลิตอัตราส่วน 4:3 ก็ได้มีการพัฒนาอัตราส่วนออกมาอีกมากมายเพื่อการแข่งขันทางภาพยนตร์..ปัจจุบัน สัดส่วนภาพมากมายเหล่านั้นได้หายไปเหลือไม่กี่สัดส่วนเท่านั้น แต่ยังไงก็ตาม สัดส่วน 4:3 ก็ยังคงเป็นมาตรฐานในการผลิต TV โดยทั่วไปอยู่ดี ถึงแม้ฟิล์มภาพยนตร์จะเป็น wide aspect แล้วก็ตาม

    จากข้อความข้างต้น ปัญหาจึงบังเกิด เนื่องจากบริษัทผลิตฟิล์มภาพยนตร์ที่ฉายตามโรง ใช้สัดส่วนที่กว้างกว่า 4:3 แต่การมาของสื่อต่างๆ เช่น VDO เทป ที่ต้องไปเปิดตามบ้าน ที่มี TV เป็น 4:3 นั้น เป็นต้นเหตุของปัญหา ทางบริษัทผลิตวิดีโอเทป จึงตัดปัญหาในการแปลงฟิล์มหนัง เป็นม้วนวิดีโอ โดยการ “ตัดด้านข้างออกแม่มเลย” เพื่อให้สัดส่วนออกมาได้ 4:3 พอดีกับที่ฉายบนจอ (แต่ก่อน TV ยังไม่มีระบบการ upscale หรือ down scale อะไรทั้งสิ้น มายังไง ฉายไปยังงั้น) ก็ทำกันเรื่อยมาโดยไม่มีปัญหา

    แต่ในปี 1979 บริษัทผลิตหนังเรื่อง Manhattan ไม่ยอมให้หนังของตน เผยแพร่ทีวีแบบถูกตัดด้านข้างทิ้ง เลยร่วมกันคิดค้นวิธีว่าจะทำไงดี เลยเป็นที่มาของ Letterboxing ซึ่งก็คือการย่อขนาดภาพกว้างยัดเข้าไปให้หมดในทีวี 4:3 แล้วใช้แถบดำปิดบนล่างแทน..หลายคนเริ่มคุ้นใช่ไหมครับ หลังจากหนังเรื่องนี้ ก็มีคนทำตามอีกมากมาย จนกลายเป็นที่มาของแถบดำบนล่าง เป็นต้นมา ทั้งในสื่อ DVD หรือ HDboardcast ในปัจจุบัน 


Manhattan(1979)


Display Resolution

   อ้าว แล้วถ้าเราต้องการดู wide แบบเต็มๆจอจะทำไงอ่ะ เราอุตส่าซื้อจอภาพแบบ wide screen มาแล้วนิในเมื่อเขาทำ letterbox มาในทุกๆสื่อบันทึก ก็ไม่ยาก ขอบคุณ function zoom ในเครื่องเล่น vdo หรือเครื่องฉาย ทำให้เราสามารถดูสัดส่วน 4:3 ที่ถูก letterboxing มาแล้ว แบบเต็มจอในจอภาพ wide ได้ (หากไม่เข้าใจ เดี๋ยวมีรูปประกอบ) ปัญหาของวิธีการ letterboxing คือ เราจะมี pixel ที่หายไป เนื่องจากต้องเอาไปตัดเป็นแถบดำคาดบนล่าง จากความสูง 480 เส้นในแบบ VGA จะเหลือ 320 – 360 เส้นเท่านั้น ทำให้เราใช้ pixel ไม่เต็มที่ เสียของ 

กว้างขึ้นอีกนิด

ย้อนกลับไปในยุค 1950 ยังมีคนอีกกลุ่มที่นิยม Cinemascope ได้คิดค้นอีกนวัตกรรมนึงที่ไม่ต้องใช้แถบดำให้เสีย pixel ไป โดยการคิดค้น “Anamorphic lens” ขึ้นมา โดยใช้ anamorphic lens ตัวนี้บีบภาพ wide screen ลง film หนัง 4:3 แล้วใช้ reverse anamorphic เพื่อ ขยายภาพลงบนจอ wide screen อีกที ว่ากันว่าในตอนแรก โรงภาพยนตร์ของ Hollywood ก็ไม่ใช้วิธีประหลาดๆนี้ แต่ต่อมาก็หันมาใช้กันแพร่หลาย เนื่องจาก แทบไม่ต้องเพิ่มต้นทุนอะไรเข้าไปเลย นอกจากเลนส์สองตัว ซึ่งวิธีการ anamorphic lens นี้ ก็ได้นำกลับมาใช้ในปัจจุบัน ในเครื่องโปรเจคเตอร์บางชนิด ซึ่งก็มีทั้งที่ใช้เลนส์ และใช้ digital ในการซูมและขยายภาพ หรือที่เรียกว่า lens memory นั่นเอง

การแสดงผลในกรณีแหล่งภาพต่าง Resolution กัน


นอกจากการแก้ไข หรือปรับปรุงที่เครื่องฉาย หรือการฉายแล้ว ตัวผู้ผลิต Screen เอง ก็มีการผลิตที่เน้นเรื่องสัดส่วนภาพเช่นกัน ตัวอย่างเช่น ทำ Screen สองอัน สองสัดส่วน ในกล่องเดียวกัน ถ้าเราต้องการดู 16:9 ก็ดึงอัน 16:9 ลงมา ถ้าต้องการดู 4:3 ก็ไปดึงเอาแบบ 4:3 ลงมา หรือบางเจ้าก็ทำม่านไฟฟ้า มาพร้อมในกล่อง Screen เลย มีการยกปิด ยกเปิดแถบดำเวลาฉายภาพสัดส่วนต่างๆกันไป 

Screen(จอภาพ)รูปแบบต่างๆ 


บิดาแห่ง 16:9
เคยถามคำถามไหมครับว่าสัดส่วน 16:9 ซึ่งปัจจุบันก็เป็นมาตรฐานในจอภาพแบบ HD หรือจอ Wide screen ทั่วไป สัดส่วนนี้มันมาจากไหน เรามาดูกัน..

   จากที่กล่าวไปแล้วในข้อความด้านบน ว่าสัดส่วนของภาพในปัจจุบันเหลืออยู่ไม่กี่อันที่เป็นที่ยอมรับ ซึ่งก็ได้แก่ 1.33 โดย The academy standard aspect ratio, 1.67 (The European wide screen aspect ratio), 1.85 (The American widescreen aspect ratio), 2.20(Panavision) และสุดท้าย 2.35(CinemaScope)…อ้าว แล้ว 16:9 หรือ 1.77 ของหนูหายไปไหน?? ไม่ต้องแปลกใจ คำตอบอยู่ที่ “Mr.Kerns Powers” นั่นเอง

    ประมาณปี 1980 ขณะที่เทคโนโลยีด้านภาพกำลังวุ่นวายกับสัดส่วนต่างๆดังที่กล่าวไป (คล้ายๆกับกรณีแรงดันไฟยุโรป 110 เมกา 220 หรือแม้แต่เต้าเสียบ เต้ารับ คนละโซนรูยังต่างกัน ) ทาง SMPE (ยังจำได้ไหม ถ้าไม่ได้ ก็ไปดูย่อหน้าแรกๆ) ก็ได้สุมหัวกันว่า ตูจะทำไงดีฟะ ให้ทีวีมันรับภาพได้หลากหลายโดยไม่ต้องวุ่นวายกับพวก aspect ratio เหล่านี้

    ในขณะที่กำลังประชุมกันวุ่นวาย นาย Kerns Powers ก็ได้เดินเข้ามา หยิบกระดาษไข ดินสอบ แล้ววาดรูปสี่เหลี่ยมตามสัดส่วนต่างๆลงไปในกระดาษแต่ละใบโดยใช้สัดส่วนเท่ากัน แล้วก็เอามาซ้อนทับกัน..โอ้วมายก๊อดดด สัดส่วน 16:9 ก็ ปรากฏออกมาให้เห็นอย่างไม่น่าเชื่อเลยจอร์จจจจ (ดูภาพประกอบ) ทำให้ไม่ว่าจะทำหนังสัดส่วนขนาดไหนก็ตาม ก็สามารถเอามายัดลง 16:9 ได้หมด มันเยี่ยมจริงๆ 

K.P. Ratio




ตัวอย่าง Aspect ratio ที่เป็นมาตรฐานสากล







แต่ Aspect ratio ก็ไม่มีอะไรตายตัวนะครับ 

ขึ้นอยู่กับความชอบส่วนบุคคลด้วย

ในตัวอย่างนี้คือ 3.56:1



จากตัวอย่างดังกล่าวผมจะใช้คำนวนหา Aspect ratio ที่เราต้องการแบบง่ายๆ

สำหรับนักตัดต่อและช่างภาพ Cinema 

ตัวอย่างนี้ Aspect ratio 3.56:1

ในกรณีที่เราถ่ายทำและตัดต่อที่ Full Hd 1920x1080

ความยาวของจอคือ 1920

ความสูงของจอคือ 1080

การคำนวนหา Aspect ratio คือการหาความสูงของจอใหม่

ให้เกิดสัดส่วนภาพที่ต้องการ

1920 ÷ 3.56 = 548.571428571

ปัดเศษก็จะกลายเป็น 550

เพราะฉะนั้น 1920x1080

Aspect ratio 3.56:1

ก็จะกลายเป็น 1920 x 550

หรือถ้าเป็น 2.35:1

1920 ÷ 2.35 = 817.021276596


หวังว่าคงจะเป็นประโยชน์แก่ผู่สนใจทุกท่านครับ









บทภาพยนตร์ (SCREENPLAY)

บทภาพยนตร์ (SCREENPLAY) เปรียบเสมือนแบบร่าง(Sketch design)ของการสร้างภาพยนตร์ บทภาพยนตร์จะมีความคล้ายคลึงกับวรรณกรรมตรงที่การบอกเล่าเรื่องราวว่า ใครทำอะไร ที่ไหน อย่างไร แต่จะแตกต่างที่บทภาพยนตร์นั้นต้องสื่อความหมายออกมาเป็นภาพ โดยใช้ภาพเป็นตัวสื่อความหมาย เพื่อโน้มน้าวจินตนาการของผู้ชม

"หากวางโครงสร้างของบทภาพยนตร์ไม่ดีพอ...ย่อมไม่มีทางทำให้ภาพยนตร์เรื่องนั้นออกมาดีได้"

องค์ประกอบของการเขียนบทภาพยนตร์

1.เรื่อง (STORY) หมายถึงเหตุการณ์หรือเรื่องราวที่เกิดขึ้น โดยมีจุดเริ่มต้นและดำเนินไปสู่จุดสิ้นสุด เรื่องอาจจะสั้นเพียงไม่กี่นาที อาจยาวนานเป็นปี หรือไม่รู้จบ(Infinity) ก็ได้ สิ่งสำคัญในการดำเนินเรื่อง คือปมความขัดแย้ง(Conflict)ซึ่งก่อให้เกิดการกระทำ ส่งผลให้เกิดเป็นเรื่องราว

2.แนวความคิด (CONCEPT) เรื่องที่จะนำเสนอมีแนวความคิด(Idea)อะไรที่จะสื่อให้ผู้ชมรับรู้

3.แก่นเรื่อง (THEME) คือประเด็นเนื้อหาสำคัญหรือแกนหลัก(Main theme)ของเรื่องที่จะนำเสนอ ซึ่งอาจประกอบด้วยประเด็นรองๆ(Sub theme)อีกก็ได้ แต่ต้องไม่ออกนอกแนวความคิดหลัก

4.เรื่องย่อ (PLOT) เป็นจุดเริ่มต้นของภาพยนตร์ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่คิดขึ้นมาใหม่ เรื่องที่นำมาจากเหตุการณ์จริง เรื่องที่ดัดแปลงมาจากวรรณกรรม หรือแม้แต่เรื่องที่ลอกเลียนแบบมาจากภาพยนตร์อื่น สิ่งแรกนั้นเรื่องต้องมีความน่าสนใจ มีใจความสำคัญชัดเจน ต้องมีการมีการตั้งคำถามว่า จะมีอะไรเกิดขึ้น(What...if...?)กับเรื่องที่คิดมา และสามารถพัฒนาขยายเป็นโครงเรื่องใหญ่ได้

5.โครงเรื่อง (TREATMENT) เป็นการเล่าเรื่องลำดับเหตุการณ์อย่างมีเหตุผล เหตุการณ์ทุกเหตุการณ์จะต้องส่งเสริมประเด็นหลักของเรื่องได้ชัดเจน ไม่ให้หลงประเด็น โครงเรื่องจะประกอบด้วยเหตุการณ์หลัก(Main plot)และเหตุการณ์รอง (Sub plot) ซึ่งเหตุการณ์รองที่ใส่เข้าไป ต้องผสมกลมกลืนเป็นเหตุเป็นผลกับเหตุการณ์หลัก

6.ตัวละคร (CHARECTOR) มีหน้าที่ดำเนินเหตุการณ์จากจุดเริ่มต้นไปสู่จุดสิ้นสุดของเรื่อง ตัวละครอาจเป็นคน สัตว์ สิ่งของ หรือเป็นนามธรรมไม่มีตัวตนก็ได้ การสร้างตัวละครขึ้นมาต้องคำนึงถึงภูมิหลังพื้นฐาน ที่มาที่ไป บุคลิกนิสัย ความต้องการ อันก่อให้เกิดพฤติกรรมต่างๆของตัวละครนั้นๆ ตัวละครแบ่งออกเป็นตัวแสดงหลักหรือตัวแสดงนำ และตัวแสดงสมทบหรือตัวแสดงประกอบ ทุกตัวละครจะต้องมีส่งผลต่อเหตุการณ์นั้นๆ มากน้อยตามแต่บทบาทของตน ตัวเอกย่อมมีความสำคัญมากกว่าตัวรองเสมอ

7.บทสนทนา (DIALOGUE) เป็นถ้อยคำที่กำหนดให้แต่ละตัวละครได้ใช้แสดงโต้ตอบกัน ใช้บอกถึงอารมณ์ ดำเนินเรื่อง และสื่อสารกับผู้ชม ภาพยนตร์ที่ดีจะสื่อความหมายด้วยภาพมากกว่าคำพูด การประหยัดถ้อยคำจึงเป็นสิ่งที่ควรทำ ความหมายหรืออารมณ์บางครั้งอาจจำเป็นต้องใช้ถ้อยคำมาช่วยเสริมให้ดูดียิ่งขึ้นก็ได้

โครงสร้างการเขียนบท

1.จุดเริ่มต้น (BIGINNING) ช่วงของการเปิดเรื่อง แนะนำเรื่องราว ปูเนื้อเรื่อง

2.การพัฒนาเรื่อง (DEVELOPING) การดำเนินเรื่อง ผ่านเหตุการณ์เดียวหรือหลายเหตุการณ์ เนื้อเรื่องจะมีความซับซ้อนมากขึ้น

3.จุดสิ้นสุด (ENDING) จุดจบของเรื่อง แบ่งออกเป็นแบบสมหวัง(Happy ending)ทำให้รู้สึกอิ่มเอมใจ และแบบผิดหวัง(Sad ending)ทำให้รู้สึกสะเทือนใจ


ปัจจัยสำคัญในโครงสร้างบท

1.แนะนำ (INTRODUCTION) คือการแนะนำเหตุการณ์ สถานการณ์ สถานที่ ตัวละครสิ่งแวดล้อม และเวลา

2.สร้างเงื่อนไข (SUSPENSE) คือการกระตุ้นให้เนื้อเรื่องดำเนินไปอย่างลึกลับมีเงื่อนไข มีปมผูกมัด ความขัดแย้ง ทำให้ผู้ชมเกิดความสงสัยและสนใจในเหตุการณ์

3.สร้างวิกฤตกาล (CRISIS) คือการเผชิญปัญหา วิเคราะห์ปัญหาของตัวละคร และหาทางแก้ไข หาทางออก หากตัวละครวนเวียนอยู่กับปัญหานานมากจะทำให้ผู้ชมรู้สึกหนักและเบื่อขึ้นได้ ควรที่จะมีการกระตุ้นจากเหตุการณ์อื่นมาแทรกด้วย

4.จุดวิกฤตสูงสุด (CLIMAX) เป็นช่วงเผชิญหน้ากับปัญหาครั้งสุดท้ายที่ถูกบีบกดดันสูงสุด ทำให้มีการตัดสินใจอย่างเด็ดขาด

5.ผลสรุป (CONCLUSION) คือทางออก ข้อสรุป ทำให้เกิดความกระจ่าง ภาพยนตร์บางเรื่องอาจไม่มีบทสรุป ก็เพื่อให้ผู้ชมนำกลับไปคิดเอง

โครงสร้างเรื่อง
ในแต่ละช่วงตอนจะประกอบด้วยปัจจัยสำคัญทั้ง 5 เสมอ

จุดเริ่มต้น (BIGINNING) คือ
1.แนะนำ (INTRODUCTION)
2.สร้างเงื่อนไข (SUSPENSE)
3.สร้างวิกฤตกาล (CRISIS)
4.จุดวิกฤตสูงสุด (CLIMAX)
5.ผลสรุป (CONCLUSION)

การพัฒนาเรื่อง (DEVELOPING)
1.แนะนำ (INTRODUCTION)
2.สร้างเงื่อนไข (SUSPENSE)
3.สร้างวิกฤตกาล (CRISIS)
4.จุดวิกฤตสูงสุด (CLIMAX
5.ผลสรุป (CONCLUSION)

จุดสิ้นสุด (ENDING)
1.แนะนำ (INTRODUCTION)
2.สร้างเงื่อนไข (SUSPENSE)
3.สร้างวิกฤตกาล (CRISIS)
4.จุดวิกฤตสูงสุด (CLIMAX)
5.ผลสรุป (CONCLUSION)

สรุป
บทภาพยนตร์ (SCREENPLAY) จะเป็นการเขียนอธิบายรายละเอียดเรื่องราว เมื่อได้โครงสร้างเรื่องที่ชัดเจนแล้วจึงนำเหตุการณ์มาแตกขยายเป็นฉากๆ ลงรายละเอียดย่อยๆ ใส่สถานการณ์ ช่วงเวลา สถานที่ ตัวละคร บทสนทนา การกระทำ บางครั้งอาจกำหนดมุมกล้อง ขนาดภาพ แน่นอนชัดเจนเลยก็เป็นได้ บทภาพยนตร์จึงเขียนเพื่อเป็นการเตรียมงานผลิด(Pre-production) และฝึกซ้อมนักแสดงโดยเฉพาะ หลังจากนั้นจึงพัฒนาต่อเป็นบทสำหรับการถ่ายทำ(Shooting script) และบทภาพ(Story board)ต่อไป

CG คืออะไร...อะไรคือCG

CG คืออะไร...อะไรคือCG
มีหลายคนสงสัยและพยามตั้งคำถามหาคำตอบหลายๆเว็บ แต่สิ่งที่ได้ก็ยังทำให้งงกันไปอีกยาวนานเรามาทำความรู้จักว่า CG คืออะไรกันก่อนดีกว่า ก่อนที่จะรู้ว่า อะไรคือCG

   เริ่มจากในปี 1973 ได้มีการทำคอมพิวเตอร์จำลองภาพเอามาใส่ในหนัง เรื่อง Westworld นะครับสิ่งนั้นเขาได้เรียกว่า Computer-generated imagery หรือ CGI จากนั้น ก็ได้แพร่หลายมาในหนังอีกหลายๆเรื่องจนมาถึง ปี 1995 ได้มีหนังได้ทำมาจากคอมพิวเตอร์ทั้งเรื่องเป็นครั้งแรก คือเรื่อง Toy Story ของ Pixar นั้นเอง โดยการทำได้ใช้ 3D computer graphics software ในการทำขึ้นมา 

  หลังงจากนั้นมากลุ่มคนที่ทำด้านนี้ที่มีอาชีพทางด้านนี้ได้เรียกตัวเอง ว่า CGI artists

โดยแบ่งแยกหน้าที่ในการทำต่างๆกันไปเช่น คนทำ artwork 

ก็ได้เรียกว่า computer generated artwork คนทำ ภาพเคลื่อนไวก็เรียกว่า Computer-generated animation แล้วก็แยกไปว่า animation อะไร เช่น Computer Generated Animation of Faces(คือเมืองนอกเขาแบ่งหน้าที่การทำชัดเจนนะครับไม่เหมือนเมืองไทยที่ 1คนทำสากกะเบือยังเรื่อรบนะครับ)

จากนั้น ก็มีแต่คำว่า computer generated ในหน้าที่ต่างแต่ละคนแต่ละหน้าที่(เริ่มเห็นคำว่า CG ยังครับ)

อย่างเช่น

computer generated artwork

Computer Generated Movies

Computer Generated Animation of ....

Computer Generated Pictures

Computer Generated 3D Art

Computer Generated 2D Art

computer Generated people

Computer Generated Dreams

Computer Generated Hologram


แม้แต่งานที่ช่วยในการสืบสวนก็ใช้

computer generated visual evidence


งานที่ไม่เห็นภาพก็ใช้

computer-generated Audio

computer-generated Music


แต่สิ่งที่เหมือนสิ่งที่ใช้ ในการทำ computer-generated คือล้วนเป็นหน้าที่ที่คนทำมักใช้ computer graphics software ในการทำจึงทำให้คนเหล่านี้ เรียกตัวเองว่า

CG ซึ้งมีความหมายว่า computer-generated คือการใช้คอมพิวเตอร์สร้างและจำลองขึ้นมาส่วนใครทำอะไรก็แล้วแต่หน้าที่


ดังนั้นคำว่า CG มีความหมายถึงกลุ่มคนที่ใช้โปรแกรม computer graphics software ต่างๆ ใช้คอมพิวเตอร์สร้างและจำลองขึ้นมา นะครับซึ่ง CG มากจากคำว่า computer-generated 

และเกิดการสับสนและคาบกึ่งคาบกลางกันมาระหว่าง คำว่า CG คนทำ CG จึงทำให้ความหมายของคำ CG กายเป็นที่เข้าใจในกลุ่มคนทั่วไปว่า มีความหมายคือ Computer Graphic มาจนถึงบัดเดี่ยวนี้


แล้ว อะไรคือ CG

  ตัวอย่างเช่น งานที่ผมทำขึ้นมาถ้าผมทำมากจาก 3D ก็จะบอกว่า ใช้3D หรือใช้ Maya ทำจาก 3D Maxหรือทำจาก Photoshop ก็บอกทำ Photoshop      แต่งานบางงานมันไม่ได้ทำมาจากโปรแกรมเดียว ใช้หลายโปรแกรมมีทั้ง 3D ทั้ง Photoshop บางที่ทำจาก 3D ใช้โปรแกรม3D ตั้ง 2 ตัวทำจาก Max ดึงเข้า Z brush ทำจาก Mudbox ดึงเข้า Maya บ้าง อะไรพวกนี้จะให้มาบอกว่าทำจากอะไรมันเป็นที่ยุ่งยากมากดังนั้นก็เลยต้องบอกไปว่า อ่อ ใช้ CG  หรือบางคน เกิดมาในชีวิตรู้จักแค่ Photoshop กะ Illustrator  พอบอกชื่อโปแกรมอื่นไป ถามกลับทันทียืดยาวมาก ผมเชื่อหลายๆคนเคยโดยถามพอคุณบอกชื่ออโปรแกรมไปแล้วคุณคำว่ามันเหมือนหรือต่างจากโปรแกรมนี้มั้ย ทำไมไม่ใช้โปรแกรมนี่ล่ะ อะไรประมาณนี้ ?มันเป็นอะไรที่พูดยากต้องใช่แน่ๆ รู้ทั้งรู้ว่าใช่แต่ใจก็พูดไม่ได้ โย่ๆๆ? ดังนั้นสิ่งที่จะบอกขึ้นมาได้ก็คือเป็น CG ครับใช้คอมพิวเตอร์ หลายโปรแกรมสร้างขึ้น

   แล้วทำไมไม่บอกไปว่า ใช้ Computer Graphic  คือคนส่วนใหญ่ที่ไม่ได้อยู่ในวงการนี้หรือไม่ได้เกี่ยวข้องกะอะไรพวกนี้เขาไม่รู้จักหรอกครับไอ้คำว่า Computer Graphic  บางคนพอพูดก็เขาเข้าใจว่ามันต้องใช้ Photoshop ทำแน่ๆ คุณลองไปถามคนที่เขาทำงานด้านอื่นดูนะครับ คำว่า Graphic  หรือ Computer Graphic  คืออะไรมันใช้อะไรทำมันทำอะไรกัน

   ผมเจอบ่อยนะครับร้านค้าเห็นเราเลิกงานมาบางทีมันดึกเขาก็ถามทำงานอะไรเหรอเป็นคำถามที่ประมาณว่ากรูตอบไปแล้วยาวคือมรึงไม่รู้ชั่วล้านเปอร์เซ็นต์ว่ามันคืออะไร

เวลาผมไปต่างจังหวัดนะครับเวลาใครถาม ?ไอ้หนูทำงานอะไรเหรอ?  ผมตอบกลับไป ?รับจ้างครับ? จบเรื่องไม่งั้นยาวเล่าไปอธิบายไปสิเขาคงเข้าใจ มันเป็นงานและอาชีพจำเพาะนะครับงานพวกนี้ บางทีบอกความจริงไปถามกลับมาว่ามันทำยังไงเหรอ

โอ่แม่เจ้า... ผมตอบปัดๆ ว่า ?ทำงนเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์?  เขาตอบกลับอีก ?อ่อ เปิดร้านคอมเหรอ?   ?ครับ? จบเรื่อง หลังจากนั้นพี่แก่มาเรียกผมไปดูคอมที่บ้านแกครับคือคอมเขาเสีย แม่เจ้า....

   ดังนั้นคนที่เมืองนอกเขาก็เจออะไรพวกนี้เหมือนกันการมานั่งตอบทำอะไรมันเป็นเรื่องที่พูดยากนะครับยิ่งในยุคแรกที่ทำเกี่ยวกับอะไรพวกนี้ดังนั้นการตัดปัญหาก็ก็พูดขึ้นมาว่า ใช้คอมเตอร์สร้างขึ้นจำลองขึ้น อะไรพวกนี้ นั้นก็คือคำว่า Computer-generated imagery หรือ หนังที่เราได้ยิน ว่าใช้ CG ก็ประมาณว่ากรู้ก็ไม่รู้จะบอกคุณยังไงดีมันได้ได้ใช้แค่โปรแกรมเดียวทำใช้ตั้งหลายวิธีซ้อนไปซ้อนมานะครับ อย่างบางคนเข้าใจว่าเขาใช้ 3D ทำก็เช้าใจว่ามันใช้โปรแกรม 3D เดียว จริงๆแล้วมันไม่ใช่นะครับบางอย่างมันมาจาก 3D บางอย่างของจริงบางอย่างภาพถ่าย บางอย่าง ทำใน โปรแกรมคอมโพส หลายอย่างมารวมกัน อย่าง Avatar อวตาร งี้มันมีทั้ง 3D ทั้งภาพจริงมารีทัช มีทั้งเพ้นท์ หลายเทคนิคกันอยู่ให้เกิดการสมจริง เขาก็ไม่รู้จะบอกคุณยังไงก็บอกว่าใช้ CG ทำ คือใช้คอมพิวเตอร์สร้างขึ้นมา

   หรือเวลาคุณเขียนสตอรี่บอร์ด มีอยู่ซีน 1 ที่คุณต้องใช้คอมพิวเตอร์สร้างใช้โปรแกรมอะไรก้แล้วแต่คุณก็ต้องอธิบายให้ลูกค้าให้รู้ว่า มันใช้CG นะครับฉากนี้ ก็ผมจะใช้คอมพิวเตอร์สร้างฉากนี้ขึ้นมาทั้งฉาก ไม่มีใครมาบอกว่าผมใช้คอมพิวเตอร์กราฟฟิค บังเอิญลูกค้าไม่รู้จักคำนี้นะมียาว       แอดโฆณษาบางตัวอย่างภาพนิ่งบางคนเขาอาจจะถามไงว่านี่คุณถ่ายมาเหรอ นี่มันของจริงเหรออาจจะเป้นสินค้าอะไรสักอย่าง แต่คุณใช้คอมเตอร์จำลองมันขึ้นมา ก็บอกไปว่าอ่อ CG ครับ 

งานบางงานมัน advance มากมันไม่ได้ทำมาจากโปรแกรมเดียวนะครับเพื่อที่ให้งานออกมาอย่างที่คิดและหวังไว้นะครับ


สรุป

CG มันไม่ใช่ตำแหน่งหรือคำวิเศษวิโส อะไรอย่างที่หลายคนคิด 

มันก็คือคำสำหรับเอาไว้บอกคนที่เขาไม่รู้เรื่องไม่เข้าใจในขั้นตอนการทำงานเพราะกระบวนการทำมันค่อนข้างสลับซับซ้อนและยุ่งยากอีกทั้งเป็นเทคนิคเฉพาะของแต่ละที่แต่ละคน การจะมานั่งอธิบายเรื่องเหล่านี้มันเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก เลยสรุปออกมาเป็นทางการคือคำว่า "การใช้คอมพิวเตอร์จำลองหรือสร้างขึ้นมาให้เป็นแบบนั้นแบบนี้"  หรือ "Computer-generated imagery ( CGI )"  หากแต่ว่ากระบวนการมันไม่ได้ทำเหมือนกันทุกขั้นตอน แต่หลักๆ ก็คือมันต้องใช้คอมพิวเตอร์ ก็เลยมาเรียกรวบหัวรวบหางประมาณว่า "ใช้ทำคอมทำจากคอม" มันก็เลยเรียกสั้นๆกันว่า " CG " (ตามตัวอย่างข้างบนนะครับ)

แต่ที่บ้านเราพยายามหาคำตอบกันนั้นหรือไม่รู้ว่ามันคืออะไร มันเกิดมาจากความผิดพลาดทางด้านภาษา มันก็มาจาก พวกที่ จะพูดไทยก็ไม่ไทยไปเลย จะอังกฤษก็ไม่อังกฤษ ซะทีเดียว พวกชอบโชว์เหนือดันไทยคำอังกฤษคำ นี่แหละ จากคำง่ายๆ แทนที่คนทั่วไปจะเข้าใจ ดันไปพูดทับคำขึ้นก็งงอึ้งกันไปพอจะถามว่ามันแปลว่าอะไรก็กลัวอายกลัวโง่ ก็ทำเป็นว่าเข้าใจแบบงงแล้วก็เอาคำนั้นไปพูดต่อ พอมากเข้ามากเข้าไอ้คนอยากรู้ก็พยายามถาม แต่มันไม่ได้มีความเข้าใจตั้งแต่แรกแล้วก็ทำให้คำนี้เป็นที่สงสัย คนเดาก็เดามั่วไปแต่อธิบายไม่ได้ก็อย่างที่เห็นๆกันในเว็บต่างๆนั้นแหละ